กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5981
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการการปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นของเกษตรกร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management guideline for growing mango (Fah-lun Variety) by farmers in Banpaew District, Samut Sakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จงรักษ์ กิ่มบางยาง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มะม่วง--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่น อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 2) การจัดการการปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นตามระบบการปฏิบัติทางการ เกษตรที่ดี (GAP) ที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต 3) ปัญหาในการปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่น 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่น และ 5) แนวทางการจัดการการปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นของเกษตรกร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 40-49 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมะม่วงฟ้าลั่น มีประสบการณ์การปลูกมะม่วงฟ้าลั่นมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีเนื้อที่ปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นเฉลี่ย 15.90 ไร่ ราคามะม่วงสูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เฉลี่ย 25.00 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 2,493.26 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนการปลูกมะม่วงเฉลี่ย 37,398.90 บาทต่อไร่ 2)เกษตรกรมีการจัดการการปลูกมะม่วงตาม GAP ในระดับมากในเรื่องการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรอย่างเคร่งครัด แหล่งน้ำที่ใช้ในการปลูกมะม่วง การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต 3)ปัญหาทั่วไปในการปลูกมะม่วง คือ ราคาปัจจัยการผลิตสูง การระบาดของแมลง และวิธีการปฏิบัติตามGAP ค่อนข้างยุ่งยาก 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับปริมาณผลผลิตมะม่วง พบว่า ระดับการศึกษาและอาชีพมีความสัมพันธ์กับปริมาณผลผลิตมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) และ 5)แนวทางในการจัดการปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นของเกษตรกร คือ (1) มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกมะม่วง (2) มีการทำความสะอาด คัดขนาด บรรจุลังกระดาษแล้วรีบนำส่งพ่อค้า และ (3) ใช้แหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี ในการปลูกมะม่วง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5981
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155140.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons