Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5985
Title: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาธนาคารพาณิชย์ไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Job performance motivation of staffs : a case study of Thai Commercial Bank in Bangkok Metropolis
Authors: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรัตน์จี คูตระกูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
ธนาคารไทยพาณิชย์--พนักงาน
การจูงใจในการทำงาน
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มึวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงาน และ (2) ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากประชากรซึ่งเป็น พนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย 9 ธนาคาร ที่มีจำนวน 40,282 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งประกอบด้วย คำถามลักษณะทางประชากรคาสตร์ และคำถาม เกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 11 ด้าน ในการวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ด้วยการใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว(ANOVA) ในกรณีที่มีความแตกต่าง จะใช้การทดสอบ เป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) ค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมของ พนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตกรุงเทพมหานครในทุก ๆ ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ "ปาน กลาง" จำนวน 9 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ย “มากสุด" ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มี ค่าเฉลี่ย 3.59 ส่วนด้านเงินเดึอนและสวัสดิการมีค่าเฉลี่ย “น้อยสุด" คือ 2.80 และมีค่าอยู่ในระดับ “สูง'’ 2 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จในงานมีค่าเฉลี่ย 3.91 ด้านความมั่นคงปลอดกัยมีค่าเฉลี่ย 3.71 และ (2) พนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีปัจลัยประชากรคาสตร์ด้านอายุ ด้านสังกัดธนาคาร ด้าน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และด้านสถานภาพ ที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านเพศ ด้านตำแหน่งงาน และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5985
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108706.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons