Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6006
Title: ทัศนคติของเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อการดำเนินการการจัดการพลังงานในอาคารของภาครัฐ
Other Titles: The attitude of officers in Ministry of Industry toward the energy management implementation at government buildings
Authors: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฌรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
บูรณะศักดิ์ มาดหมาย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
กระทรวงอุตสาหกรรม--พนักงาน--ทัศนคติ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติของเจ้าหน้าทีหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อุตสาหกรรมด้านข่าวสารข้อมูล ด้านความสำคัญและความจำเป็น ตลอดจนผลกระทบทีจะได้รับจากการดำเนินการจัด การพลังงานในอาคารของภาครัฐ (2) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้การดำเนินการจัดการพลังงานในอาคารของภาครัฐของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมประสบผลสำเร็จ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการจัดการหลังงานกับผลกระทบที่ได้รับ จากการจัดการพลังงานในอาคารของภาครัฐและ (4) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปฎิบัติที่เหมาะสม สอดคลัองของการจัดการพลังงานสามารถนำมากำหนดเป็นแผนงานการดำเนินการการจัดการหลังงานในอาคารของ ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี่เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใน สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินการกิจกรรมการประหยัดพลังงาน และเป็นบุคคลหลักทีดำเนินการโครงการ ประหยัดพลังงานจำนวน 60 คนโดยใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กาวทดสอบที การทดสอบเอฟ่ การทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ไคสแคว์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า (1) ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ต่อการดำเนินการการจัดการพลังงานในอาคารของ ภาครัฐภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยและเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน พบว่า เจ้าหน้าที่เห็นด้วยต่อด้าน ความสำคัญและจำเป็นของการดำเนินการการจัดการพลังงานในอาคารของภาครัฐเป็นอันดับหนี่ง รองลงมา คือ ด้านการ ดำเนินการ ด้านปัจจัยที่ทำให้การดำเนินการจัดการพลังงานประสบผลสำเร็จ ด้านผลกระทบที่หน่วยงานและเจ้าหน้าที หน่วยงานได้รับจากการดำเนินการ ด้านการพัฒนาการดำเนินการ และด้านข่าวสารข้อมูลการดำเนินการตามลำดับ (2) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า มีเพียง ปัจจัยระดับตำแหน่งเท่านั้น ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 สำหรับเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา วุฒิการศึกษาสาขา ตำแหน่งงานทีทำงานปัจจุบัน ระยะเวลาทีรับ ราชการ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของการจัด การหลังงานกับผลกระทบ ที่ได้รับจากการดำเนินการจัดการหลังงานในอาคารของภาครัฐ พบว่ามีเพียงด้านการ พัฒนาการดำเนินการและด้านการดำเนินการ เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบที่ได้รับจากการดำเนินการจัด การพลังงานในอาคารของภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ปัจจัยด้านข่าวสารข้อมูล ด้านความสำคัญและ จำเป็นและด้านปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จไม่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบที่ใด้รับจากการดำเนินการจัดการพลังงานใน อาคารของภาครัฐ
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6006
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108709.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons