Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6007
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จันตรี คุปตะวาทิน | th_TH |
dc.contributor.author | รุ่งนภา เหลาบุญมา, 2517- | th_TH |
dc.contributor.other | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-05-15T08:50:16Z | - |
dc.date.available | 2023-05-15T08:50:16Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6007 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของงานวิจัย ด้านการสอนแนวคอนสตรัคติวิสต์ระดับประถมศึกษา (2) สังเคราะห์งานวิจัยเชิง คุณลักษณะเกี่ยวกับวิธีการเรียนและวิธีการสอนแนวคอนสตรัคติวิสต์ ระดับประถมศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นวิทยานิพนธ์ และรายงานการศึกษาอิสระ ระดับปริญญาโทจากสถาบันในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่พิมพ์เผยแพ เพร่ระหว่างปี พ.ศ.2542 - 2550 จำนวน 40 เล่ม โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสรุปงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลทั่วไปของงานวิจัยเกี่ยวกับการสอนแนวคอนสตรัคติวิสต์ ระดับประถมศึกษาจำนวน 40 เล่ม ส่วนใหญ่พิมพ์ในปี พ.ศ.2548 เป็นงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มากที่สุดร้อยละ 65.00 เป็นงานวิจัยซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มากที่สุด ร้อยละ 70.00 ประชากรที่ทำวิจัยเป็นนักเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติมากที่สุด ร้อยละ 95.00 ชั้นเรียนที่ทำวิจัยมากที่สุด คือ ระคับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 40.00 วิชาที่นำมาวิจัยมากที่สุด คือ คณิตศาสตร์ ร้อยละ 76.00 เป็นงานวิจัยเชิงทดลองมากที่สุด ร้อยละ 75.00 ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนประถมศึกษา รูปแบบการเรียน รูปแบบการเรียนมากที่สุด คือ การเรียนเป็นกลุ่มย่อย ร้อยละ 60.00 สื่อหรือวิธีการที่นำมาใช้มากที่สุด คือ แผนการจัดกิจกรรมร้อยละ 42.50 และ (2) ผลการสังเคราะห์ งานวิจัยเชิงคุณลักษณะวัวขวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์แบ่งเปืน 4 ด้าน ดังนี้ 1) รูปแบบการสอน พบว่า มี 3 รูปแบบ คือ การสอนแบบใช้กิจกรรมการเรียนการสอน แบบใช้สื่อการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ และแบบใช้เกม โดยครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ 2) รูปแบบการเรียน มี 3 รูปแบบได้แก่ การเรียนรู้ เป็นกลุ่มย่อย การเรียนด้วยตนเอง และการเรียนโดยมีครูเป็นผู้สอน การเรียนทั้ง 3 รูปแบบนี้ เป็นการเรียนที่พัฒนาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น 3) สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ ฝึกและได้ปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งเรียงจากง่ายไปหายากเหมาะสมกับวัยและความต้องการของผู้เรียน 4) ผลการวิจัย พบว่า การสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เมื่อนำมาใช้ในการสอน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการสอนแบบปกติ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคงทนของการเรียนรู้สูงขึ้นและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.source | Reformated digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | การศึกษาขั้นประถม--การศึกษาและการสอน | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน | th_TH |
dc.title | การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสอนแนวคอนสตรัคติวิสต์ระดับประถมศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | Synthesis of research on Constructivist instruction at the primary education level | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_119355.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License