Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6023
Title: การลดภาวะขาดทุนของโรงพยาบาลของรัฐในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยใช้สัมประสิทธิ์การจัดสรรรายได้
Other Titles: Reduction of financial loss of government hospitals under universal coverage policy by using the distribution co-effcient technique
Authors: วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิศเพลิน เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า--แง่เศรษฐกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
ประกันสุขภาพ--ค่าใช้จ่าย.--ไทย
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านการเงินของโรงพยาบาลของ รัฐ ภายใต้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และ 2549 (2) เพื่อศึกษาการใช้ สัมประสิทธิ์การจัดสรรรายได้ในแต่ละโรงพยาบาล เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการกระจายรายได้และลดการ เหลี่อมล้ำของภาวะหนี้ของแต่ละโรงพยาบาล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทางการเงินจากจากโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 807 แห่ง (ทั้งจำนวนประชากร) โดยตัดโรงพยาบาลที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนออกจำนวน 196 แห่ง และตัดโรงพยาบาลที่ มีข้อมูลรัอยละของการได้รับเงินในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2548 และ 2549 ต่างกันมากกว่า 2 เท่า ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอีกจำนวน 33 แห่ง เหลือข้อมูลในการคำนวณ จำนวน 578 แห่ง และสรัางผลการทำนาย ภาวะขาดทุน-ไม่ขาดทุนในปื 2549 โดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้นแบบหลายตัวแปรและคัดเลือกตัวแปรโดยวิธี stepwise จากนั้นนำค่าที่ได้จากสมการมาคำนวณต่อเป็นค่าสัมประสิทธิ์การจัดสรรรายได้โดยใช้สูตร ค่า สัมประสิทธิ์การจัดสรรรายได้ มีค่าเท่ากับ 1.5 ลบตำแหน่งของการขาดทุน-ไม่ขาดทุนในรูปแบบเปอร์เซ็นไทค์ แล้วนำไปทดสอบความสามารถในการทำนายการลดภาวะการขาดทุนอีกครั้งในข้อมูลปี 2549 แต่เนื่องจากข้อมูล รายรับในส่วนของโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีไม่ครบถ้วน จึงได้ทำการสรัางข้อมูลบางส่วนของโครงการ ประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วนำมาคำนวณภาวะขาดทุน-ไม่ขาดทุนก่อนและหลังการจัดสรรโดยอาศัย สัมประสิทธิ์การจัดสรรรายอีกครั้ง ผลการวิจัยพบว่า (1) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2548 และ 2549 ได้ผลดังนี้มีจำนวนรพ.ที่ขาดทุน มากขึ้น มีจำนวนรพ.ที่ไม่ขาดทุนลดลง ภาวะขาดทุนรวมมากขึ้น การได้กำไรลดลงและในภาพรวมพบว่าขาดทุน เพิ่มจาก 5,442,515,358 บาท เป็น 7,549,762,280 บาท (2) ค่าสัมประสิทธิ์การจัดสรรรายได้มีค่าระหว่าง 0.502 ถึง 1.5 โดยตํ่าสุดที่โรงพยาบาลตราด และ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชสูงสุดทื่โรงพยาบาลอุดรธานี จากการเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ค่าสัมประสิทธิ์การจัคสรรรายได้ พบว่า ภายหลังการใช้สัมประสิทธิ์การ จัดสรรรายได้ สามารถลคการขาดทุนรวมจาก 3,615,983,529.30 บาท เป็น 2,421,592,181.73 บาท (เหลือรัอยละ 66.97) ลดการขาดทุนเฉลี่ยของโรงพยาบาลที่ขาดทุนจาก 41,090,721.92386 บาท เป็น 26,906.579.79702 บาท (เหลือรัอยละ 65 48) ลดปริมาณการขาดทุนของโรงพยาบาลสูงสุดลดจาก 441,887,716.94000 บาท เป็น 276,242,607.94 บาท (เหลือรัอยละ 62.51) และมีจำนวนโรงพยาบาลที่ขาดทุนเปลี่ยนจาก 88 แห่งเป็น 90 แห่ง
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6023
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
109959.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons