กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/602
ชื่อเรื่อง: การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่องานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเก้าเลี้ยว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Clients' satisfaction with outpatient pharmacy service at Kaoleaw Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์
กัลยาณี น้อมพรรโณภาส, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุรเดช ประดิษฐบาทุกา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว--ระบบการจ่ายยา--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
โรงพยาบาล--ระบบการจ่ายยา--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นเป้าหมายหลักของการบริการ และเป็นตัวชี้วัคคุณภาพบริการ เพราะสะท้อนว่าบริการที่ให้ตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการหรือไม่ การประเมินความพึงพอใจจึงเป็นความจำเป็นในการปรับปรุงบริการให้ตรงความต้องการของผู้รับบริการวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) วัดระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการประเภทผู้ป่วยนอกที่ห้องจ่ายยา ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านคุณภาพบริการ และด้านอื่น ๆ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการประเภทผู้ป่วยนอก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเท้าเลี้ยว และมารับบริการที่ห้องจ่ายยาของโรงพยาบาล โดยมีอายุตั้งแต่ 15 ปืขึ้นไป จำนวน 320 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .917 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบแบบเอฟ การทดสอบสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านในบริการที่ได้รับจากห้องจ่ายยาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อบริการทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านคุณภาพบริการ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจสูงที่สุด (4.20) และด้านสภาวะแวดล้อมของบริเวณรอรับยา มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจตํ่าที่สุด (3.86) (2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบจากข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า อายุ สถานภาพสมรส และอาชีพหลัก มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) เมื่อทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในทิศทางบวก ข้อเสนอแนะของผู้รับบริการ (รัอยละ 17.5) เห็นว่าควรปรับปรุงเรื่องบรรยากาศที่ร้อนอากาศไม่ถ่ายเท แสงสว่างน้อยเกินไป และเสียงดังรบกวน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/602
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
105495.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons