Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/606
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา วีรบุรีนนท์th_TH
dc.contributor.authorสุดใจ แก้วแวว, 2517-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-13T08:31:07Z-
dc.date.available2022-08-13T08:31:07Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/606en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตฤประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญ ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และชุมชนมอญ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (2) เปรียบเทียบประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญ ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครกับชุมชนมอญ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ได้ในการศึกษา คือ ชาวมอญใน ชุมชนมอญ ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และ ชุมชนมอญ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะลึกรวมถึงการเข้าสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาผลสรุปโดยอ้างอิงตามแนวทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และอธิบายผลการวิจัยในลักษณะการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กับชุมชนมอญตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีความสำคัญโดยถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ตามการนับแบบปฏิทินสุริยคติ ชาวมอญจะแบ่งวันสงกรานต์ออกเป็น 3 ช่วงหรือ 3 วัน วันแรกเรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันที่สองเรียกว่า “วันเนา’’ และวันที่สาม เรียกว่า "วันเถลิงศก" โดยชาวมอญจะจัดให้มีพิธีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเพณีสงกรานต์มอญนั้น ได้แก่ การแห่ข้าวแช่และการแห่ธงตะขาบ ที่ยังคงมีการสืบทอดและปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ (2) ในการเปรียบเทียบประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญ ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กับชุมชนมอญ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พบว่า รูปแบบของประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญทั้งสองแห่งมีความคล้ายคลึงกันโดยยึดรูปแบบตามประเพณีสงกรานต์มอญดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณแต่ชุมชนมอญตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จะไม่มีการแห่ข้าวแช่ ส่วนแนวโน้มในอนาคต ของประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญทั้งสองแห่ง อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมตามสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสงกรานต์--ไทย--สมุทรสาคร--ความเป็นอยู่และประเพณีth_TH
dc.subjectมอญ--ไทย--สมุทรสาคร--ความเป็นอยู่และประเพณีth_TH
dc.subjectมอญ--ไทย--นนทบุรี--ความเป็นอยู่และประเพณีth_TH
dc.subjectสงกรานต์--ไทย--นนทบุรี--ความเป็นอยู่และประเพณีth_TH
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญ ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กับชุมชนมอญ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีth_TH
dc.title.alternativeComparison of the Songkran tradition of the Mon community at Jedrew Sub-district, Ban Phaeo District, Samut Sakhon and the Mon community at Ko Kret Sub-district, Pak Kret District, Nonthaburien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were two-fold: (1) to study the history of. and (2) to compare the Songkran Tradition of the Mon Community at Jedrew Sub-District. Ban Phaeo District, Samut Sakhon and the Mon Community at Ko Kret Sub-Disctrict, Pak Kret District, Nonthaburi. The sampling group was the Mons of both communities. The instruments used were documentary and field research-participant observation and in-depth interviews. The population was by sampling. Data analysis was carried out by interpreting with social theory. The results of this research will be explained in descriptive analysis form. The results of this research were: (1) the history of the Songkran Tradition of the Mon Community at Jedrew Sub-District, Ban Phaeo District, Samut Sakhon and the Mon Community at KoKret Sub-District, Pak Kret District. Nonthaburi was significant for Mon people. The Songkran day was a New Year Day celebration by Solar calendar which lasted for 3 days. The first day was called “Wan Ma-Ha Songkran". the second day "Wan Nau"', and the third day “Wan Tha-Lueng Sok". The Mons had a great celebration. The formal rites of Mon's Songkran Tradition were Hae Koa Chae and Hae Tong Ta-Kab originated in the past; (2) The Songkran Tradition of the two Mon Communities resembled the original one from the past. The Mon community at Jedrew Sub-District. Ban Phaeo District, Samut Sakhon did not have the Hae Koa Chae ceremony. Songkran Tradition in both communities will gradually change according to the economics and social conditions.en_US
dc.contributor.coadvisorสุดจิต เจนนพกาญจน์th_TH
dc.contributor.coadvisorประชิด วามานนท์th_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (8).pdfเอกสารฉบับเต็ม7.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons