Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6117
Title: การส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ให้มีคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Extension technology for producing quality mango. Of farmers in Bang Phli distict Samut Prakarn Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปุณญิศา เชาว์ช่างเหล็ก, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
มะม่วงน้ำดอกไม้--การผลิต
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไป สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตมะม่วง (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงของเกษตรกร (4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้กับกรมส่งเสริมการเกษตรในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวนทั้งหมด 1,230 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane โดยกำหนดระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 59.73 ปี จบการศึกษาระดับอนุปริญญา ไม่มีการดำรงตำแหน่งทางสังคม จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.78 คน มีประสบการณ์ในการปลูกมะม่วง เฉลี่ย 23.30 ปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 3 คน พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 5.10 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกมะม่วง เฉลี่ย 1.90 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ของตนเองและเช่ารายได้จากการจำหน่ายผลผลิตมะม่วงเฉลี่ย (ปี 2561) 14,258.24 บาทต่อไร่ รายจ่ายในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 3,225.28 บาทต่อไร่ ระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารทางสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อมวลชนอยู่ในระดับน้อย สื่อกิจกรรมอยู่ในระดับปานกลาง และสื่อบุคคลอยู่ในระดับมาก (2) ลักษณะพื้นที่ปลูกมะม่วงเป็นพื้นที่ลุ่ม มีลักษณะเป็นดินเหนียว โรคที่สำคัญของมะม่วง มักพบโรคแอนแทรคโนส แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของมะม่วงที่พบ คือ แมลงวันผลไม้ ใช้สารเบนโนมิลในการกำจัด ผลผลิตเฉลี่ย 456.75 กิโลกรัมต่อไร่ และขายมะม่วงในราคาเฉลี่ย 36.43 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมทุกประเด็น (3) เกษตรกรมีการใช้สารเมทิลยูจินอลในการป้องกันแมลงวันทอง ระดับมากที่สุด (4) เกษตรกรมีความต้องการช่องทางในการส่งเสริมจากสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และต้องการวิธีการส่งเสริมแบบทัศนศึกษาในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะแนวทาง การส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกรควรมีการช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต้นทุนการผลิต เช่น การลดราคาปุ๋ย สารเคมี และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตร และให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิต รวมทั้งเรื่องการตลาด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6117
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons