Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6122
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรณิชา สุทธิแป้น, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-05-23T07:36:50Z-
dc.date.available2023-05-23T07:36:50Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6122-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวในรูปแบบแปลงใหญ่ 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานนาแปลงใหญ่ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ 5) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 456 ราย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 141 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.82 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ เฉลี่ย 11.79 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6 ผลผลิตเฉลี่ย 735.3 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 3,574.09 บาท/ไร่ และได้รับข้อมูล/ข่าวสาร/ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมนาแปลงใหญ่ในระดับมากที่สุด จากแหล่งสื่อบุคคล ก็คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ (2) แนวทางการดำเนินงานในรูปแบบแปลงใหญ่ที่เกษตรกรมีการปฏิบัติระดับมากที่สุด ได้แก่ มีการคัดเลือกพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยเป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ มีความเหมาะสมตามโซนนิ่ง ส่วนสภาพการผลิตข้าวที่มีการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ มีการไถดะ ไถแปร และคราด 1 ครั้ง มีการแช่ข้าวก่อนปลูก (3) ภาพรวมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก ทั้งด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล (4) ประเด็นที่เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากที่สุด ได้แก่ แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำเกษตรไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก (5) ภาพรวมเกษตรกรมีความต้องการความรู้ด้านต่าง ๆ ในระดับมากที่สุด อาทิ การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการดินและปุ๋ย การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การตลาดและการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิตข้าวคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ช่องทางการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการในระดับมากที่สุด จากสื่อสิ่งพิมพ์ คือ คู่มือ จากสื่อบุคคล คือ เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ อินเตอร์เน็ต วิธีการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการในระดับมาก ก็คือ การฝึกปฏิบัติ การสาธิต และทัศนศึกษา ส่วนแนวทางการส่งเสริมนาแปลงใหญ่นั้น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรบูรณาการการทางานร่วมกับหน่วยงานภาคีและเชื่อมโยงเครือข่าย ควบคู่ไปกับการทางานตามระบบส่งเสริมการเกษตร (T&V system) เพื่อสนับสนุนเกษตรกร ทั้งในด้านการตลาด ด้านการวางแผนและบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ด้านการถ่ายทอด/เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และด้านการสนับสนุนงบประมาณหรือปัจจัยต่าง ๆ สำหรับการจัดทำแปลงเรียนรู้/การทำในรูปแบบธุรกิจ เช่น การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า โดยสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วม มีหน้าที่ชัดเจน และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่มth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines of the paddy collaborative farming of farmers in Mae Chan District, Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) socio-economic conditions of farmers 2) collaborative rice production farming of farmers 3) participation in the operation of collaborative farming 4) problems and suggestion in the extension of collaborative farming 5) needs and guidelines for the extension of collaborative rice farming. The population of this study was 456 farmers who were members of collaborative rice farming group in Mae Chan district, Chiang Rai province. The sample size of 141 people was determined by using simple sampling method. Data was collected through conducting interview and was analyzed by using statistical values such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and content analysis. The results of the study showed that (1) most of the farmers were male with the average age of 56.82 years and completed grade 6 of primary school education. They had the average area that participated in collaborative rice farming of 11.79 Rai. Most of the rice grown was sticky rice, RD6 with the average productivity of 735.3 kilogram/Rai. The average rice production cost was 3,574.09 Baht/Rai. They received information/news/knowledge about collaborative rice farming at the highest level and they received it from personal media source which was government officers. (2) Operation guidelines in collaborative farming that farmer adopted at the highest level such as the selection for areas to be participated in the project. Those lands must have the land deeds and appropriate according to zoning. In regards the rice production conditions, they performed the most in the aspects of ploughing roughly for the first time, ploughing in regular furrows for the second time, and harrowing for 1 time. (3) The overall participation of farmers was at the high level in the aspects of decision making, practice, benefit receiving, and evaluation. (4) The most problematic issue faced by the farmers was about water resources for agricultural purposes were insufficient for planting. (5) Overall, farmers wanted to receive knowledge at the highest level in disease and pest management, soil and fertilizer management, seed preparation, production optimization, post harvest management, marketing and group administration, and rice production according to GAP standard. Extension channels which farmers wanted the most from printing media was manuals, from personal media was officers from government sector, and from electronic media was internet. The extension methods that farmers wanted at the high level included practice, demonstration, and field trip. In regards to the extension guidelines for the paddy collaborative rice farming, the agricultural extension officers should integrating the work with partner agencies, connecting with various network, along with training and visit System (T&V system) to support farmers about marketing, planning and participative management, transfer knowledge, distribute and promote information, budget or various factor for the learning crops or experiment in the form of business, processing, value addition. By having all of the members participate with clear duties. They must also comply with group regulationsen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons