กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6122
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines of the paddy collaborative farming of farmers in Mae Chan District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรณิชา สุทธิแป้น, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวในรูปแบบแปลงใหญ่ 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานนาแปลงใหญ่ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ 5) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 456 ราย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 141 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.82 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ เฉลี่ย 11.79 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6 ผลผลิตเฉลี่ย 735.3 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 3,574.09 บาท/ไร่ และได้รับข้อมูล/ข่าวสาร/ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมนาแปลงใหญ่ในระดับมากที่สุด จากแหล่งสื่อบุคคล ก็คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ (2) แนวทางการดำเนินงานในรูปแบบแปลงใหญ่ที่เกษตรกรมีการปฏิบัติระดับมากที่สุด ได้แก่ มีการคัดเลือกพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยเป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ มีความเหมาะสมตามโซนนิ่ง ส่วนสภาพการผลิตข้าวที่มีการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ มีการไถดะ ไถแปร และคราด 1 ครั้ง มีการแช่ข้าวก่อนปลูก (3) ภาพรวมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก ทั้งด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล (4) ประเด็นที่เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากที่สุด ได้แก่ แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำเกษตรไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก (5) ภาพรวมเกษตรกรมีความต้องการความรู้ด้านต่าง ๆ ในระดับมากที่สุด อาทิ การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการดินและปุ๋ย การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การตลาดและการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิตข้าวคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ช่องทางการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการในระดับมากที่สุด จากสื่อสิ่งพิมพ์ คือ คู่มือ จากสื่อบุคคล คือ เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ อินเตอร์เน็ต วิธีการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการในระดับมาก ก็คือ การฝึกปฏิบัติ การสาธิต และทัศนศึกษา ส่วนแนวทางการส่งเสริมนาแปลงใหญ่นั้น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรบูรณาการการทางานร่วมกับหน่วยงานภาคีและเชื่อมโยงเครือข่าย ควบคู่ไปกับการทางานตามระบบส่งเสริมการเกษตร (T&V system) เพื่อสนับสนุนเกษตรกร ทั้งในด้านการตลาด ด้านการวางแผนและบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ด้านการถ่ายทอด/เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และด้านการสนับสนุนงบประมาณหรือปัจจัยต่าง ๆ สำหรับการจัดทำแปลงเรียนรู้/การทำในรูปแบบธุรกิจ เช่น การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า โดยสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วม มีหน้าที่ชัดเจน และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6122
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons