Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6230
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลชลี จงเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอดิศักดิ์ ดงสิงห์, 2532-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-05-27T07:34:00Z-
dc.date.available2023-05-27T07:34:00Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6230en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ตามความคิดเห็นของครู และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 357 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฎว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีในการบริหาร ความเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์ ความรู้ทางกฎหมายด้านเทคโนโลยีและการปฏิบัติ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและการประเมินผล ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และการสนับสนุน การจัดการ และการดำเนินการด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า (2.1) ควรได้รับการพัฒนาด้านความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน โดยการฝึกอบรมเป็นระยะ ๆ รวมทั้งได้รับการส่งเสริมให้มีการประกวดและการออกแบบสื่อหรือนวัตกรรมเทคโนโลยีในการเรียนการสอน (2.2) ควรได้รับการพัฒนาความเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยี โดยการแบ่งปันแนวคิดซึ่งกันและกันภายในกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา และการศึกษาดูงานในสถานศึกษาที่มีผลงานเชิงประจักษ์ด้านเทคโนโลยี (2.3) ควรได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร โดยการทดสอบความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และการแลกเปลี่ยนสัมมนาแนวคิดในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโดยใช้เครือข่ายทางการบริหารระหว่างสถานศึกษา (2.4) ควรได้รับการพัฒนาด้านการให้การสนับสนุน การจัดการและการปฏิบัติโดยใช้เทคโนโลยี โดยการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติให้ครูในการใช้เทคโนโลยี (2.5) ควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถในการวัดและประเมินผลทางการศึกษาโดยการพัฒนาการออกแบบการวัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี การฝึกปฏิบัติซ้ำ ๆ จนสามารถเป็นผู้ให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ครูและบุคลากรได้ (2.6) ควรมีการพัฒนาตนเองให้มีองค์ความรู้ด้านกฎหมายอย่างชัดเจนและครอบคลุมกับภารกิจที่รับผิดชอบ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการสร้างเครือข่ายทางวิชาชีพ และ (2.7) ควรได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม โดยการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีด้วยความรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ และเคารพกฎระเบียบ กติกา และมารยาทในการใช้เทคโนโลยีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1th_TH
dc.title.alternativeGuidelines for development of technological leadership of School Administrations under the Secondary Service Area Office 1th_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study technological leadership of school administrators under the Secondary Education Service Area Office 1, as perceived by teachers; and (2) to study guidelines for development of technological leadership of school administrators under the Secondary Education Service Area Office 1. The sample consisted of 357 teachers under the Office of Educational Service Area 1 during the academic year 2015, obtained by stratified and simple random sampling. The key informants for interviews were 5 experts. The employed research instruments were a rating-scale questionnaire, with reliability coefficient of .98, and an interview form. Quantitative data were statistically analyzed using the frequency, percentage, mean, and standard deviation; while qualitative data were analyzed with content analysis. The research findings were as follows: (1) the overall rating mean for technological leadership of the school administrators was at the high level; when specific aspects of technological leadership of the school administrators were considered, the aspect receiving the top rating mean was that of the use of technology in management, followed by leadership and vision; legal knowledge of technology and practices; ethics in the use of technology; using of technology in measurement and evaluation; knowledge on using technology in instruction; and technological support, management, and operation, respectively; and (2) the guidelines for development of technological leadership of school administrators were as follows: (2.1) they should be developed to have knowledge on using technology in instruction by consecutive training including the promotion of contest and design of media and technological innovations in instruction; (2.2) they should be developed to have leadership and vision in technology using mutual concept sharing among the groups of school administrators and visits to schools having distinguished works on educational technology; (2.3) they should be developed to be equipped with the competency in using technology in management by testing the use of management technology and exchanging concepts in using technology in management with school management network; (2.4) they should be developed on provision of the supports, management and practice on the use of technology with development of guidelines in using technology for teachers; (2.5) they should be developed to be equipped with knowledge and ability in the use of technology in educational measurement and evaluation by engaging in repeated practices until they can provide advices to teachers and personnel; (2.6) they should be developed to have clear and comprehensive legal knowledge of technology and practices via attending the workshops, seminars, sharing of professional knowledge, and establishing professional networks; and (7) they should be developed to be able to use technology ethically by being trained on the responsible uses of technology regularly, and courtesy and respect for the rules and regulations on the use of technologyen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_156371.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons