Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/627
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มัลลิกา มัสอูดี | th_TH |
dc.contributor.author | สำราญ ผลดี, 2517- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-16T09:16:17Z | - |
dc.date.available | 2022-08-16T09:16:17Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/627 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 2) ศึกษาแนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ 3) ศึกษาผลของแนวพระราชดำริทางเศรษฐกิจของพระองค์ต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในช่วงรัชสมัยของพระองค์ (พ.ศ. 2468-2477) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารเชิงประวัติศาสตร์และนำเสนอในรูปแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการศึกษา พบว่า (1) แนวพระราชดำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการ คือ การกล่อมเกลาทางสังคม ได้แก่ พระชาติกำเนิด การศึกษาปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ปัญหาเศรษฐกิจก่อนขึ้นครองราชย์รวมถึงอิทธิพลทางด้านความคิดเรื่องเศรษฐกิจจากที่ปรึกษาด้านการคลังและอภิรัฐมนตรีสภา และปัจจัยที่สำคัญ คือ ความไม่เชี่ยวชาญเรื่องเศรษฐกิจของพระองค์เอง (2) แนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะเป็น “อนุรักษ์นิยมแบบก้าวหน้า” คือ ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงินการคลังแบบ “อนุรักษ์นิยม” โดยมุ่งรักษาดุลงบประมาณให้สมดุลด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่ทำให้รายจ่ายสมดุลกับรายได้นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีแนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจแบบก้าวหน้าด้วยในบางเรื่อง คือ ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเพิ่มพลังการผลิต ทรงมุ่งหวังให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นระบบที่จะนำมาซึ่งความสุขสมบูรณ์ของประชาชนอย่างแท้จริงดังจะเห็นได้จากพระบรมราชวินิจฉัยไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงการเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ (3) พระราชดำริด้านเศรษฐกิจในลักษณะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคมสยามหลายประการ กล่าวคือ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถจัดงบประมาณให้สมดุลได้นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระองค์ยังเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งความขัดแย้งของผู้ที่เกี่ยวข้องภายในรัฐบาล รวมถึงความเดือดร้อนของข้าราชการกลุ่มต่าง ๆ และประชาชน เป็นสาเหตุข้อหนี่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และเป็นผลทางตรงและทางอ้อมจนทำให้พระองค์ทรงสละราชสมบัติในที่สุด | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2436-2484--พระราชดำรัส--แง่เศรษฐกิจ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ไทย--ภาวะเศรษฐกิจ--2436-2484 | th_TH |
dc.title | แนวพระราชดำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | th_TH |
dc.title.alternative | Economics thought of King Prajadhipok / Economics thought of King Prajadhipok | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศิลปศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research was conducted with three objectives, (1) to study the conditions that influenced King Prajadhipok’s thought, (2) to study the economics thought of King Prajadhipok, and (3) to study the impacts of King Prajadhipok’s thought over the social change during his reign (1925-1934). This research is based on a historical approach and is presented as descriptive analysis. It was found that one of the factors influencing King Prajadhipok’s thought was socialization, which covered his status, his education, his unpreparedness to be the successor to the throne, economic problems before his reign, and the influence from his financial advisors and the Supreme Council. Another important factor was his lack of expertise in dealing with the economic problems. These factors all supported and motivated the “Modem Conservative Economic Thought” in which he wished to solve the economic problem in a conservative way by balancing the expenses and revenues. He also hoped to move forward in some ways such as realizing the use of technology in increasing manufacturing efficiency. wishing for everybody to own small parts of land, supporting the use of fund in new projects even if they had to loan the money. He also hoped the economy would bring real happiness to his people by disagreeing with Pridi Banomyong’s national economic project. His ideas have impact on the society in many ways. He was able to solve the economic problem and balance the budget while some projects had to slow down because of insufficient funds. His vision brought conflict between government members and distress in officials. It was one of the causes of the constitutional reform in 1932. The changes in administration and his disagreement with the People’s Party’s government all led to his abdication. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | ปิยนาถ บุนนาค | th_TH |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License