กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/627
ชื่อเรื่อง: | แนวพระราชดำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Economics thought of King Prajadhipok / Economics thought of King Prajadhipok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มัลลิกา มัสอูดี สำราญ ผลดี, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปิยนาถ บุนนาค |
คำสำคัญ: | ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2436-2484--พระราชดำรัส--แง่เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ ไทย--ภาวะเศรษฐกิจ--2436-2484 |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 2) ศึกษาแนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ 3) ศึกษาผลของแนวพระราชดำริทางเศรษฐกิจของพระองค์ต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในช่วงรัชสมัยของพระองค์ (พ.ศ. 2468-2477) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารเชิงประวัติศาสตร์และนำเสนอในรูปแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการศึกษา พบว่า (1) แนวพระราชดำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการ คือ การกล่อมเกลาทางสังคม ได้แก่ พระชาติกำเนิด การศึกษาปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ปัญหาเศรษฐกิจก่อนขึ้นครองราชย์รวมถึงอิทธิพลทางด้านความคิดเรื่องเศรษฐกิจจากที่ปรึกษาด้านการคลังและอภิรัฐมนตรีสภา และปัจจัยที่สำคัญ คือ ความไม่เชี่ยวชาญเรื่องเศรษฐกิจของพระองค์เอง (2) แนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะเป็น “อนุรักษ์นิยมแบบก้าวหน้า” คือ ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงินการคลังแบบ “อนุรักษ์นิยม” โดยมุ่งรักษาดุลงบประมาณให้สมดุลด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่ทำให้รายจ่ายสมดุลกับรายได้นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีแนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจแบบก้าวหน้าด้วยในบางเรื่อง คือ ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเพิ่มพลังการผลิต ทรงมุ่งหวังให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นระบบที่จะนำมาซึ่งความสุขสมบูรณ์ของประชาชนอย่างแท้จริงดังจะเห็นได้จากพระบรมราชวินิจฉัยไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงการเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ (3) พระราชดำริด้านเศรษฐกิจในลักษณะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคมสยามหลายประการ กล่าวคือ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถจัดงบประมาณให้สมดุลได้นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระองค์ยังเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งความขัดแย้งของผู้ที่เกี่ยวข้องภายในรัฐบาล รวมถึงความเดือดร้อนของข้าราชการกลุ่มต่าง ๆ และประชาชน เป็นสาเหตุข้อหนี่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และเป็นผลทางตรงและทางอ้อมจนทำให้พระองค์ทรงสละราชสมบัติในที่สุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/627 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License