Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/627
Title: แนวพระราชดำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Other Titles: The economics thought of King Prajadhipok / Economics thought of King Prajadhipok
Authors: มัลลิกา มัสอูดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยนาถ บุนนาค, อาจารย์ที่ปรึกษา
สำราญ ผลดี, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2436-2484 --พระราชดำรัส--แง่เศรษฐกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
ไทย--ภาวะเศรษฐกิจ--2436-2484
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 2) ศึกษาแนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ 3) ศึกษาผลของแนวพระราชดำริทางเศรษฐกิจของพระองค์ต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในช่วงรัชสมัยของพระองค์ (พ.ศ. 2468-2477) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารเชิงประวัติศาสตร์และนำเสนอในรูปแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการศึกษาพบว่า (1) แนวพระราชดำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการ คือ การกล่อมเกลาทางสังคม ได้แก่ พระชาติกำเนิด การศึกษาปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ปัญหาเศรษฐกิจก่อนขึ้นครองราชย์รวมถึงอิทธิพลทางด้านความคิดเรื่องเศรษฐกิจจากที่ปรึกษาด้านการคลังและอภิรัฐมนตรีสภา และปัจจัยที่สำคัญ คือ ความไม่เชี่ยวชาญเรื่อง เศรษฐกิจของพระองค์เอง (2) แนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะเป็น “อนุรักษ์นิยมแบบก้าวหน้า” คือ ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงินการคลังแบบ “อนุรักษ์นิยม” โดยมุ่งรักษาดุลงบประมาณให้สมดุลด้วยมาตรการต่างๆ ที่ทำให้รายจ่ายสมดุลกับรายได้นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีแนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจแบบก้าวหน้าด้วยในบางเรื่อง คือ ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเพิ่มพลังการผลิต ทรงมุ่งหวังให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นระบบที่จะนำมาชี่งความสุขสมบูรณ์ของประชาชนอย่างแท้จริงดังจะเห็นได้จากพระบรมราชวินิจฉัยไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงการเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ (3) พระราชดำริด้านเศรษฐกิจในลักษณะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคมสยามหลายประการ กล่าวคือ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถจัดงบประมาณให้สมดุลได้นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระองค์ยังเป็นสาเหตุที่นำมาชี่งความขัดแยังของผู้ที่เกี่ยวข้องภายในรัฐบาล รวมถึงความเดือดรัอนของข้าราชการกลุ่มต่างๆ และประชาชน เป็นสาเหตุข้อหนี่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และเป็นผลทางตรงและทางออมจนทำให้พระองค์ทรงสละราชสมบัติในที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/627
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons