Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6364
Title: การพัฒนาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริงรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
Other Titles: Development of authentic assessment instruments in the career and technology 2 (agriculture) course for Mathayom Suksa II students of Kanchanaphisek Witthayalai school in Suphan Buri province
Authors: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัตนา นวีภาพ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การงานและอาชีพ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- สุพรรณบุรี
การประเมินตามสภาพจริง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 2 (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 130 คน ได้มาโดยการ สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความรู้ ด้านทักษะปฏิบัติ และด้านคุณลักษณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีการตรวจสอบ คุณภาพรายข้อด้านความยาก อำนาจจำแนก และตรวจสอบคุณภาพทั้งฉบับด้านความตรง โดยการหาค่าความ สอดคล้องของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบทดสอบจากการหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาร์ค และความเที่ยงของเกณฑ์การให้คะแนนระหว่างผู้ตรวจ 2 คนจากสูตรสัมประสิทธิ์ สัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การสร้างเครื่องมือประเมินตานสภาพจริงของรายวิชาการงานอาชีพและ เทคโนโลยี 2 (งานเกษตร) สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพดังนี้ คือเครื่องมือประเมินด้าน ความรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 60 ข้อ แบบทดสอบย่อยแบบถูก-ผิด และ แบบทดสอบแบบจับคู่ จำนวนฉบับละ 10 ข้อ แบบทดสอบแบบอัตนัย 2 ข้อ แบบประเมินการคิดจำนวน 3 ข้อ และแบบประเมินการทำชิ้นงานการสรุปองค์ความรู้แบบแผนผังความคิด เครื่องมือประเมินด้านทักษะ ปฏิบัติ ได้แก่แบบวัดทักษะปฏิบัติ และแบบประเมินการทำโครงงาน เครื่องมือวัดคุณลักษณะ ได้แก่ แบบ สังเกตพฤติกรรมการเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เครื่องมือสะท้อนการจัดการเรียนการสอน ของครู และเครื่องมือสะท้อนการทำโครงงานของนักเรียนจำนวน 3 ฉบับ และ (2) การตรวจสอบคุณภาพของ เครื่องมือประเมินตามสภาพจริงประเภทแบบทดสอบมีความยากรายข้อระหว่าง 0.28 - 0.80 มีอำนาจจำแนกราย ข้อระหว่าง 0.20-0.83 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับระหว่าง 0.80-0.97 การตรวจสอบคุณภาพทั้งฉบับของเครื่องมือ ทั้งหมดมีความตรงอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 แบบประเมินชั้นงานการสรุปองค์ความรู้แบบแผนผังความคิด แบบ วัดทักษะปฏิบัติ และแบบประเมินโครงงานมีความเที่ยงระหว่าง 0.73-0.95 แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนและ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มมีความเที่ยงเท่ากับ 0-78 และ 0.72 แบบสะท้อนความคิดเห็นทั้ง 4 ฉบับ มีความเที่ยงเท่ากับ 0.78,0.75,0.55 และ 0.52
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6364
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
119081.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons