Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6385
Title: การพัฒนาและแนวโน้มของประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
Other Titles: Development and the trend of efficiencies management administration of the Phuket Provincial Administrative Organization
Authors: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกลํ่า, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุไรพร อนันตยานุกูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต--การบริหาร
การบริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาของประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (2) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และ (3) แนวโน้มของประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ ได้นำ แพ็มส์-โพสคอร์บ มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งการ หาค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.93 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตทั้งฝ่ายการเมืองฺและฝ่ายประจำ รวมทั้งประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต รวม 1,220 คน สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2550 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2550 รวบรวมแบบสอบถามกลับคืนมา 1,098 คน คิดเป็นร้อยละ 90.0 ของแบบสอบถามทั้งหมด ส่วนสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลางต่อปัญหา แนวทางการพัฒนา และ แนวโน้มของประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และมีความเห็นว่า (1) ปัญหาที่สำคัญ คือ การกำหนดนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการประชาชน รวมทั้งการกระจาย อำนาจของรัฐบาลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตไม่มากเพียงพอ (2) แนวทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเพิ่ม มากขึ้น รวมทั้งการกระจายอำนาจของรัฐบาลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้เป็นหน่วยการ ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ทำนองเดียวกับกรุงเทพมหานคร และ (3) แนวโน้มของประสิทธิภาพใน การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตที่สำคัญคือการกำหนดนโยบายของผู้บริหารที่ชัดเจน และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6385
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
110002.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons