Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6391
Title: | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | Community participation in educational management of schools under Sadao Municipality in Songkhla Province |
Authors: | อรรณพ จีนะวัฒน์ กัญญาพัชร พูลชื่น, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การจัดการศึกษา--ไทย การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา การศึกษา--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และ (2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อาเภอสะเดา จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ครูผู้รับผิดชอบงานสัมพันธ์ชุมชน และผู้ปกครอง จำนวนทั้งสิ้น 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่าความเที่ยง .94 และแบบสอบถามปลายเปิด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งข้อมูลรายด้านประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการจัดสรรทรัพยากร ด้านการดำเนินกิจกรรมตามแผน ด้านการประสานงาน และด้านการประเมินผล โดยการมีส่วนร่วมด้านการประสานงานมีมากกว่าด้านอื่นๆทุกด้าน และ (2) ปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ได้แก่ ชุมชนไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษา ชุมชนไม่ได้รับรู้ในการจัดสรรทรัพยากรและการดำเนินงานตามแผนของโรงเรียน ขาดการประชาสัมพันธ์และประสานงานระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินโรงเรียน ส่วนข้อเสนอแนะมีดังนี้ (ก) ข้อเสนอแนะต่อโรงเรียนคือ โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียนเพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินโรงเรียน ตลอดจนมีการจัดสรรทรัพยากรและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ที่มีในชุมชน และ (ข) ชุมชนควรเข้าร่วมประชุมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ร่วมเป็นวิทยากร สนับสนุนให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เผยแพร่ความรู้ในชุมชน และเข้าร่วมวางแผนการศึกษากับโรงเรียน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6391 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148236.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License