Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6399
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorศิรินทร์ ธูปกลํ่า, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธนิดา วังขันธ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-13T08:34:10Z-
dc.date.available2023-06-13T08:34:10Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6399-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน (2) แนวทางการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้การ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการขององค์การ บริหารส่วนตำบลในอำเภอพนัสนิคมประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ได้นำการบริหารจัดการตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 8 ต้าน ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การพึ่งตนเอง การ เสริมสร้างคุณภาพคนให้มีทั้งความรู้และคุณธรรมคู่ควบกัน การรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่าย และ ความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้ง การหาค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.94 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพนัสนิคมรวม 1.099 คน สำหรับการ เก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ถึง วันที่ 1 กันยายน 2551 เก็บ รวบรวมแบบสอบถามคืนมาได้ 1,088 ชุด คิดเป็นร้อยละ 98.99 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วนสถิติ ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง (1) เห็นว่า ปัญหาที่สำคัญคือ องค์การบริหารส่วนตำบล ขาดการสนับสนุนให้ประชาชนหรือตัวแทนชุมชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบ การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล (2) เห็นว่า แนวทางการสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชน ที่สำคัญถือ องค์การบริหารส่วนตำบลควรเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ประชาชน หรือตัวแทนชุมชนเช้าร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าวอย่างชัดเจน และ (3) เห็นว่า ปัจจัยที่นีส่วน สำคัญทำให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการบริหาร จัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลประสบผลสำเร็จ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลควร ประชาสัมพันธ์โดยใช้หอกระจายข่าวอย่างต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2008.324-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectการตรวจสอบการจัดการ--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativePeople participation in following and checking management administration of the subdistrict administrative organizations in Panusnikom District of Chonburi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2008.324-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe major study were to study (1) problems of people participation (2) guidelines of supporting of people participation and (3) factors that took important parts in the success of the supporting of people participation in following and checking management administration of the Subdistrict Administrative Organizations in Panusnikom District of Chonburi Province. The management administration according to the Sufficiency Economy Philosophy consisted of 8 factors: moderation, rationality, self-immunity, self-dependence, strengthening the qualities of people in both knowledge and morality cohesiveness, network creation, and equilibrium and sustainable development was applied as conceptual framework of this study. This study was a survey research using questionnaire which were pre-tested and checked for validity, including reliability of questionnaires at 0.94. A total of 1,099 samples was the local residents of the Subdistrict Administrative Organizations in Panusnikorm District of Chonburi Province. Field data was collected during August I, 2551 to September 1, 2551. The questionnaires were gathered back at the amount of 1,088, equal to 98.99% of the total samples. In data analysis, statistics of percentage, mean, standard deviation and t-test were used. The results of the study showed that the samples (1) agreed that the vital problem was the lack of supporting of people or their representatives to participate in the following and checking committees of management administration of the Organizations; (2) agreed that the vital guideline of supporting of people participation was the explicit open opportunity and supporting of people or their representatives to participate in the committees; and (3) agreed that the factors that took important pans in the success of the supporting of people participation in following and checking management administration of the Organizations was the Organizations’ continuing public relations by using the broadcasting towersen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
110005.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons