Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6412
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา วัธนสุนทร | th_TH |
dc.contributor.author | หทัยรัตน์ รำพึงจิตต์, 2525- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-06-14T01:34:31Z | - |
dc.date.available | 2023-06-14T01:34:31Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6412 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ฉบับ เรื่องทฤษฏีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฏีบทพีทาโกรัสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเรื่องการนำทฤษฏีบทพีทาโกรัสไปใช้ในการแก้ปัญหา และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้นทั้ง 2 ฉบับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้สุ่มแบบเจาะจงโดยเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน สตรีวัดระฆัง กรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบสอนในปี การศึกษา 2553 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 265 คน การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมีขั้นตอนดังนี้ (1) การวิเคราะห์เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเรื่องทฤษฏีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฏีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หลักการของการทดสอบแบบอิงโดเมนและการเรียนเพื่อรอบรู้ (2) การจัดทำตารางวิเคราะห์วัตถุประสงค์ซึ่งใช้เป็นฐานในการสร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจ (3) การสร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจ ประกอบด้วยข้อสอบ 2 ตอน เป็นข้อสอบแบบเติมคำตอบสั้นๆ ที่ให้ผู้สอบระบุเหตุผลของการตอบด้วย (4) การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านหลักการวัดผล จำนวน 5 คน แล้วปรับปรุงตามผลของการตรวจสอบ (5) การนำข้อสอบไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 เพื่อรวบรวมคำตอบและเหตุผลของการตอบผิดเพื่อนำคำตอบที่ผิดของนักเรียนส่วนใหญ่ไปสังเคราะห์เป็นตัวลวงของข้อสอบ 3 ตัวพร้อมทั้งข้อวินิจฉัยในการตอบผิดของแต่ละตัวในแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ที่จะสร้างขึ้น (6) การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 23 ข้อ ข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกโดยที่ตัวลวง 3 ตัวในแต่ละข้อ คือตัวลวงที่สังเคราะห์จากข้อมูลการตอบข้อสอบในแบบทดสอบสำรวจ แบบทดสอบฉบับที่ 2 ประกอบด้วยข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้น ๆ จำนวน 12 ข้อ (7) การนำแบบทดสอบวินิจฉัยไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 และ 3 แล้วปรับปรุงสองครั้งหลังการทดลองใช้ (8) การสร้างแบบทดสอบฉบับจริง ซึ่งนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 4 เพื่อวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบรายข้อ และทั้งฉบับผลการวิจัยพบว่า (1) ได้แบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 23 ข้อ เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ และ ฉบับที่ 2 เป็นข้อสอบแบบเขียนตอบจำนวน 12 ข้อ และ (2) แบบทดสอบวินิจฉัยที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ ทั้ง 2 ฉบับ โดยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของข้อสอบทุกข้อ จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านหลักการวัดผล เท่ากับ 1.00 ได้แก่ 1) แบบทดสอบวินิจฉัยความรู้และความเข้าใจในทฤษฏีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฏีบทพีทาโกรัส ซึ่งมีค่าความยากระหว่าง .59 - .73 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .55 - .94 และ 2) แบบทดสอบวินิจฉัยการนำทฤษฏีบทพีทาโกรัสไปใช้ในการแก้ปัญหา มีค่าความยากระหว่าง .51– .67 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .51 - .63 3) ค่าความเที่ยงของ แบบทดสอบแต่ละฉบับซึ่งคำนวณโดยใช้สูตรของ โลเวทท์ มีค่า 0.989 และ 0.990 ตามลำดับ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2010.102 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--แบบฝึกหัด | th_TH |
dc.subject | แบบทดสอบวินิจฉัย | th_TH |
dc.title | การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 | th_TH |
dc.title.alternative | Development of diagnostic tests in mathmatics on Pythagoras theorem for Mathayom Suksa II students | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were (1) to develop two diagnostic tests on the topic of Pythagoras Theorem and its reverse Theorem, and the topic of application of Pythagoras Theorem for solving Problems for mathayom suksa II students; and (2) to verify the quality of the developed two diagnostic tests. The sample, purposively selected, comprised 265 students from 5 classrooms in Satri Wat Rakhang School, Bangkok Metropolis, The test construction process comprised the following steps: (1) Analysis of the contents and instructional objectives of the Pythagoras Theorem and its reverse theorem for Mathayom Suksa II students based on the principle of domain-referenced evaluation and mastery learning theory. (2) Construction of contents and objective scale analysis to use as the master plan for constructing two exploratory tests. (3) Constructing of a 2 exploratory test which was of the short-answer type requiring the test respondents to provide short answers and accompanying reason for the given answers. (4) Haring 5 experts on the content and measurement principles to verity the content Education Mathematics, Secondary validity and revised accordingly. (5) The exploratory test was tried out with the first sample group. The item responses were analyzed to collect the incorrect answers and reasons given for each incorrect answer. The information from the analysis was synthesize to make three distracters alternative items (6) Constructing of two diagnostic tests, the first one consisted of 23 multiple choice test with 4 alternatives answers, three of which were distractors synthesized from step 5. The second test consisted of 12 short-answer items. (7) The tests were tried out with the second and third sample groups and revised twice after the tests. (8) The final tests were constructed and tried out with the fourth sample group to analyze the quality of the tests and test items. The results of the study were 1) Two diagnostic tests in kematics Theorem and its reverse theorem, the first one consisted of 23 multiple choice items. And the second one consisted of 12 short-answer items. 2) Both two developed diagnostic tests were qualified with the indices of content validity, as verified by the content and the measurement principle experts, 1.00, namely, (1) the diagnostic test on knowledge and understanding of Pythagoras Theorem and its reverse theorem, with the item difficulty indices ranging between .59 - .73 and the item discrimination indices ranging between .55 - .94; and (2) the diagnostic test on the application of Pythagoras Theorem for solving problems, with the item difficulty indices ranging from .51 - .67 and the item discrimination indices ranging from .51 - .63. The reliability indices of both tests as analyzed using the Lovett formula were .989 and .990 respectively | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สุภมาส อังคุโชติ | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
125493.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License