Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6412
Title: การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Development of diagnostic tests in mathmatics on Pythagoras theorem for Mathayom Suksa II students
Authors: กาญจนา วัธนสุนทร
หทัยรัตน์ รำพึงจิตต์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุภมาส อังคุโชติ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--แบบฝึกหัด
แบบทดสอบวินิจฉัย
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ฉบับ เรื่องทฤษฏีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฏีบทพีทาโกรัสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเรื่องการนำทฤษฏีบทพีทาโกรัสไปใช้ในการแก้ปัญหา และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้นทั้ง 2 ฉบับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้สุ่มแบบเจาะจงโดยเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน สตรีวัดระฆัง กรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบสอนในปี การศึกษา 2553 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 265 คน การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมีขั้นตอนดังนี้ (1) การวิเคราะห์เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเรื่องทฤษฏีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฏีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หลักการของการทดสอบแบบอิงโดเมนและการเรียนเพื่อรอบรู้ (2) การจัดทำตารางวิเคราะห์วัตถุประสงค์ซึ่งใช้เป็นฐานในการสร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจ (3) การสร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจ ประกอบด้วยข้อสอบ 2 ตอน เป็นข้อสอบแบบเติมคำตอบสั้นๆ ที่ให้ผู้สอบระบุเหตุผลของการตอบด้วย (4) การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านหลักการวัดผล จำนวน 5 คน แล้วปรับปรุงตามผลของการตรวจสอบ (5) การนำข้อสอบไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 เพื่อรวบรวมคำตอบและเหตุผลของการตอบผิดเพื่อนำคำตอบที่ผิดของนักเรียนส่วนใหญ่ไปสังเคราะห์เป็นตัวลวงของข้อสอบ 3 ตัวพร้อมทั้งข้อวินิจฉัยในการตอบผิดของแต่ละตัวในแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ที่จะสร้างขึ้น (6) การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 23 ข้อ ข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกโดยที่ตัวลวง 3 ตัวในแต่ละข้อ คือตัวลวงที่สังเคราะห์จากข้อมูลการตอบข้อสอบในแบบทดสอบสำรวจ แบบทดสอบฉบับที่ 2 ประกอบด้วยข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้น ๆ จำนวน 12 ข้อ (7) การนำแบบทดสอบวินิจฉัยไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 และ 3 แล้วปรับปรุงสองครั้งหลังการทดลองใช้ (8) การสร้างแบบทดสอบฉบับจริง ซึ่งนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 4 เพื่อวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบรายข้อ และทั้งฉบับผลการวิจัยพบว่า (1) ได้แบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 23 ข้อ เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ และ ฉบับที่ 2 เป็นข้อสอบแบบเขียนตอบจำนวน 12 ข้อ และ (2) แบบทดสอบวินิจฉัยที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ ทั้ง 2 ฉบับ โดยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของข้อสอบทุกข้อ จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านหลักการวัดผล เท่ากับ 1.00 ได้แก่ 1) แบบทดสอบวินิจฉัยความรู้และความเข้าใจในทฤษฏีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฏีบทพีทาโกรัส ซึ่งมีค่าความยากระหว่าง .59 - .73 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .55 - .94 และ 2) แบบทดสอบวินิจฉัยการนำทฤษฏีบทพีทาโกรัสไปใช้ในการแก้ปัญหา มีค่าความยากระหว่าง .51– .67 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .51 - .63 3) ค่าความเที่ยงของ แบบทดสอบแต่ละฉบับซึ่งคำนวณโดยใช้สูตรของ โลเวทท์ มีค่า 0.989 และ 0.990 ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6412
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125493.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons