Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6417
Title: การวิเคราะห์เปรียบเทียบการลงทุนของฟาร์มสุกรพันธุ์ ฟาร์มสุกรขุน และฟาร์มสุกรแบบครบวงจรในจังหวัดนครปฐม
Other Titles: Comparative investment analysis of pig breeding farms, fattening pig farms and integrated pig farms in Nakhon Pathom Province
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชาดา สถาวรวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิษณุ วาสนกมล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
ฟาร์มสุกร--การลงทุน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี่มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการเลี้ยงและการตลาดสุกรในจังหวัดนครปฐม (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบเงินลงทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าของการลงทุนเลี้ยงสุกรของฟาร์มขนาดใหญ่ ในจังหวัดนครปฐมระหว่างการเลี้ยงสุกรในรูปแบบของฟาร์มสุกรพันธุ์ ฟาร์มสุกรขุน และฟาร์มสุกร แบบครบวงจร และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใชัในการศึกษาประกอบด้วยเกษตรกรที่ทำฟาร์มสุกรแบบครบวงจรจำนวน 12 ราย ฟาร์มสุกรขุนจำนวน 6 ราย และฟาร์มสุกรพันธ์จำนวน 3 ราย และใชัวิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling Technique) เครื่องมีอที่ใชัในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการเที่ยงและการตลาดสุกรใชัวิธีการทางสถิติอย่างง่ายในรูปของค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนใช้วิธีคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน (PB) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ค่าดัชนีกำไร (P1) และอัตราผลตอบแทนจากโครงการ (IRR) และการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงสุกรใช้วิธีการจัดเรียงลำดับตามความสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า (1) ฟาร์มสุกรส่วนใหญ่ในจังหวัดนครปฐมจะเป็นฟาร์มสุกรแบบครบวงจร และ เลี้ยงในระบบเปิด พ่อค้าส่วนใหญ่ในท้องถิ่นเป็นผู้รับซื้อผลผลิต และนอกจากนี้พบว่าเกษตรกรจะจำหน่าย ลูกสุกรตามราคาประกาศของบริษัท เจริญโภคกัณฑ์ จำกัด (มหาชน) และสุกรขุนตามราคาประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดนครปฐม (2) ระยะเวลาคืนทุนของการลงทุนเลี้ยงสุกรในรูปแบบของฟาร์มสุกร แบบครบวงจร และฟาร์มสุกรพันธุ์เท่ากับ 2.84 ปี และ 5.2 ปี ตามลำดับ แต่สำหรับฟาร์มสุกรขุนตลอดอายุของโครงการลงทุนไม่สามารถจะคืนทุนได้ ณ อัตราคิคลดรัอยละ 7 พบว่า อัตราผลตอบแทนจากโครงการของฟาร์มสุกรแบบครบวงจร และฟาร์มสุกรพันธุ์ เท่ากับ รัอยละ 26 และ 10 ตามลำดับ สำหรับฟาร์มสุกรอขุนไม่สามารถหาค่าของอัตราผลตอบแทนจากโครงการได้ แสดงให้เห็นว่าฟาร์มสุกรพันธุ์และฟาร์มสุกรแบบครบวงจรมีความเป็นไปได้ในการลงทุนมีเพียงฟาร์มสุกรขุนที่ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยที่ฟาร์มสุกรแบบครบวงจรได้ผลตอบแทนต่อการลงทุนในอัตราสูงสุดและเป็นรูปแบบการเลี้ยงสุกรที่เหมาะสมที่สุดในการลงทุนและ (3) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเลี้ยงสุกร ก็คือ ความผันแปรของราคาจำหน่ายผลผลิตสุกรและราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6417
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
110013.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons