กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6418
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Civil participation in the development of development plan of sub-district administrative organizations in Punpin District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นราธิป ศรีราม
ยุทธนา เดี่ยววานิช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุพิมพ์ ศรีพันธุ์วรสกุล
ปภาวดี มนตรีวัต
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพุนพิน--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพุนพิน--การบริหาร--ไทย--สุราษฎร์ธานี
องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล (3) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล (4) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลและการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรได้แก่ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล16 แห่งในเขตอำเภอ พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งมีคำความน่าเชื่อถือ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ร้อยละ 60.18 ส่วนด้านการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจร้อยละ 55.32 โดยตำบลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดได้แก่ตำบลหนองไทร และตำบลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนามากที่สุดได้แก่ตำบลพุนพิน (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชาสัมพันธ์ สถานที่ และระยะเวลา ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน (3) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในระดับปานกลาง โดยประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่มีขนาดแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่แตกต่างกัน (4) ปัญหาสำคัญได้แก่การขาดความรู้และไม่เข้าใจประโยชน์ของการมีส่วนร่วมจัดทำแผนพัฒนา ส่วนแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมได้แก่ หน่วยงานควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของแผนพัฒนา นอกจากนั้น ควรจัดกิจกรรมอื่นๆในช่วงการประชุมเพื่อจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6418
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
110014.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons