Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6435
Title: | พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคของสหกรณ์ร้านค้าโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จำกัด |
Other Titles: | Factors which affecting consumers’ purchasing decision behavior to Chumphon Khet Udomsakdi Hospital Cooperative shop |
Authors: | สุจิตรา รอดสมบุญ ศิริมล นรชาติพันธุ์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | การซื้อสินค้า--การตัดสินใจ พฤติกรรมผู้บริโภค การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผู้บริโภคของสหกรณ์ร้านค้าโรงพยาบาลุมพรเขตรอุดมศักดิ์จำกัด 2) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า 4) ข้อเสนอแนะการพัฒนาการให้บริการของสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย/เดือนมากกว่า 30,000 บาท รายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย/เดือนมากกว่า 25,000 บาท สมาชิกในครัวเรือน 2-4 คน สมาชิกที่มีรายได้ 2-4 คน และปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจา หน่าย ด้านกระบวนการ ส่วนด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรหรือพนักงาน ส่วนด้านลักษณะกายภาพอยู่ในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ได้แก่ ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าเพราะ สะดวกในการเดินทางไปซื้อ ความถี่ในการซื้อต่อเดือนน้อยกว่า 5 ครั้ง ไม่มีมีการศึกษาข้อมูลหรือเปรียบเทียบข้อมูลกับร้านค้าอื่น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 100-300บาท ซื้อสินค้าในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเวลา 9.00-12.00 น. ตัดสินใจเองในการซื้อ เพื่อใช้ในครัวเรือน และจะกลับมาซื้อสินค้าและบริการ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าคือเพศ การศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย/เดือน รายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย/เดือน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าคือด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรหรือพนักงาน ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ4) ข้อเสนอแนะคือ ควรพัฒนาบุคลากร ควรปรับปรุงพัฒนาร้าน เพิ่มการส่งเสริมการตลาด และควรนำความแตกต่างของกลุ่มผู้บริโภคมาจัดทำแผนการตลาด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6435 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License