กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/646
ชื่อเรื่อง: ความรู้ความคิดเห็นและกระบวนการบริหารงบประมาณสาธารณสุขมูลฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Knowledge, opinions, and management process of primary health care budget among village health volunteers in Damnoensaduak district, Ratchaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
ขจร คำเงิน, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมโภช รติโอฬาร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--ราชบุรี
งบประมาณ--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ ความคิดเห็น และกระบวนการบริหารเงินงบประมาณสาธารณสุขมูลฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และความคิดเห็น (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความคิดเห็น กับกระบวนการบริหารเงินงบประมาณสาธารณสุขมูลฐาน (4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตชนบท อำเภอดำเนินสะดวก จังหวดราชบุรี จำนวน 192 คน ที่ได้จากการคัดเลือกเจาะจงผู้ที่เป็นกรรมการเบิก-จ่ายเงินและกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ เป็นกรรมการเบิก-จ่ายเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแนวการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) อาสาสมัครสาธารณสุขในเขตอำเภอดำเนินสะดวกจังหวดราชบุรี มีความรู้ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณสาธารณสุขมูลฐานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามกระบวนการบริหารงบประมาณสาธารณสุขมูลฐาน (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณสาธารณสุขมูลฐาน ได้แก่ ระดับการศึกษา และตำแหน่งทางสังคม (p-value<0.01 และ 0.05 ตามลำดับ) ส่วนอายุมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณสาธารณสุขมูลฐาน (r = -0.182, p-value<0.05) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการปฏิบัติงานทุกตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณสาธารณสุขมูลฐาน (3) ความรู้ และความคิดเห็นมีความสัมพันธ์กับกระบวนการบริหารงบประมาณลาธารณสุขมูลฐานในภาพรวม (r = 0.266 และ 0.290 ตามลำดับ p-value<0.001) (4) ส่วนปัญหา/อุปสรรค พบว่าขาดความร่วมมือจากชุมชนในการจัดทำแผน ขาดความรู้เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณสาธารณสุขมูลฐาน งบประมาณได้รับล่าช้า นำงบประมาณไปใช้ใม่ตรงตามแผนขาดการเก็บหลักฐานใบสำคัญการเงิน และ ไม่มีการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินจากคณะกรรมการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/646
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83651.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons