Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6472
Title: ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาตามนโยบายสถานศึกษา 3D ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยะลา
Other Titles: Effects of using a guidance activities package to develop desirable characteristics based on the 3D school policy of students in the area under responsibility of Yala Regional Distance Education Center
Authors: นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชลธิชา จันมณีย์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ศูนย์วิทยพัฒนาบริการจังหวัดยะลา -- นักศึกษา
นักศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักศึกษาตามนโยบายสถานศึกษา 3D ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยะลา และ (2) เปรียบเทียบ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักศึกษาตามนโยบายสถานศึกษา 3D ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของ ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยะลา ก่อนการทดลองกับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 21 คน ในเขต พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยะลา ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยมีวิธีสุ่มดังนี้ ขั้นแรก เลือกจังหวัดมา จำนวน 7 จังหวัด โดยการสุ่มจากรายชื่อจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หลังจากนั้นจึงสุ่มอย่างง่าย ได้นักศึกษาจังหวัดละ 3 คนรวม 21 คน ผู้วิจัยดำเนินกับกลุ่มทดลองโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อ พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักศึกษาตามนโยบายสถานศึกษา 3D จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ ของนักศึกษาตามนโยบายสถานศึกษา 3D และ (2) แบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของ นักศึกษาตามนโยบายสถานศึกษา 3D ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษามีการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามนโยบาย สถานศึกษา 3D สูงขึ้นภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามนโยบาย สถานศึกษา 3D เป็นเวลา 1 เดือน นักศึกษามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6472
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128415.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons