Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6523
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจำลอง นักฟ้อน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจักรพรรดิ์ จิตมณี, 2502-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-06-19T08:27:25Z-
dc.date.available2023-06-19T08:27:25Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6523en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (2) เปรียบเทียบสมรรถนะที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา และการดำรงตำแหน่งเดิม และ (3) เสนอแนวทางในการสร้างเสริมสมรรถนะที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งดำรงตำแหน่งในปีงบประมาณ 2548 จำนวน 118 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัย พบว่า (1) สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการบริหารจัดการภาพรวมอยู่ในระดับที่มีสมรรถนะที่พึงประสงค์มากที่สุด โดยมีสมรรถนะด้านวิชาการและด้านบริหารงานบุคคลระดับมากที่สุด ส่วนสมรรถนะด้านงบประมาณ และด้านบริหารทั่วไป อยู่ในระดับมาก (2) สมรรถนะที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาและการดำรงตำแหน่งเดิมพบว่าไม่แตกต่างกัน ยกเว้น สมรรถนะด้านวิชาการ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีวุฒิปริญญาเอก และปริญญาตรี แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) แนวทางในการเสริมสร้างสมรรถนะที่พึงประสงค์ได้แก่ การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดงานธุรการและการบริหารทั่วไป การจัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการ และการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชนตามลำดับth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการบริหารการศึกษา -- ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษาth_TH
dc.subjectการบริหารการศึกษาth_TH
dc.titleสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542th_TH
dc.title.alternativeDesirable competencies of the educational service area director for management based on the B.E. 2542 National Education Actth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_85871.pdfเอกสารฉบับเต็ม936.89 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons