Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6529
Title: | สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 |
Other Titles: | Desirable competencies of the educational service area director for management based on the B.E. 2542 National Education Act |
Authors: | โสภนา สุดสมบูรณ์ จิตติมา บุญรอด, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารการศึกษา--ไทย การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา การบริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับบรรยากาศองค์การของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ (2) ระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การและความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูในสถาบัน การศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 171 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบรรยากาศองค์การของสถาบันการศึกษาและความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ระดับบรรยากาศองค์การของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าบรรยากาศแบบเปิดแบบควบคุม และแบบอิสระ อยู่ในระดับมาก ส่วนบรรยากาศแบบรวบอำนาจ แบบสนิทสนม และแบบปิด อยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การเรียนรู้เป็นทีม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรูปแบบมุมมอง การเรียนรู้ส่วนบุคคล การคิดเชิงระบบและวิสัยทัศน์ที่ใช้ร่วมกัน อยู่ในระดับมาก และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การและความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6529 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161867.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License