Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6543
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorอนุชัย รามวรังกูร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุภาวรรณ จุรกรรณ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-20T06:16:58Z-
dc.date.available2023-06-20T06:16:58Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6543-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นในการนำเครื่องมือหรือวิธีการแบบลีน มาใช้ประโยชน์ และปัญหาหรืออุปสรรคในการใช้ห่วงโซ่อุปทานแบบลีน ของอุตสาหกรรมไทยเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสถานประกอบการกับ การใช้การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนในอุตสาหกรรมไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารของสถานประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,168 แห่งทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้จำนวน 298 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ มีระดับความคิดเห็นต่อการนำเครื่องมือหรือวิธีการแบบลีนมาใช้อยู่ในระดับปานกลาง เครื่องมือหรือวิธีการแบบลีนที่นำมาใช้ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การใช้มาตรฐาน ISO รองลงมาคือ กิจกรรม 5 ส โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูป GPS และRI-ID อยู่ในระดับน้อยที่สุด ในขณะที่มีระดับความ คิดเห็นต่อประโยชน์ที่ได้รับและปัญหาหรืออุปสรรคในการนำการจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนมาใช้อยู่ใน ระดับมากทั้งสองด้าน เมื่อพิจารณาด้านประโยชน์ที่ได้รับ พบว่า การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนช่วยลด ขั้นตอนการทำงานมากที่สุด รองลงมาคือการลดเวลาของกระบวนการทำงาน และมีความคิดเห็นต่อประโยชน์ ด้านผลิตภัณฑ์ไม่ล้าสมัยเนื่องจากได้รับการปรับปรุงตลอดเวลาน้อยที่สุด ส่วนระดับความคิดเห็นด้านปัญหาหรืออุปสรรค พบว่า มีปัญหาหรืออุปสรรคด้านการสนับสนุนจากหัวหน้าของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงมากที่สุด รองลงมาคือการใช้เครื่องมือหรือวิธีการแบบลีนบางวิธี ในช่วงแรกต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจึงทำให้ไม่ได้รับความสนใจนำมาใช้อย่างเต็มที่และมีความคิดเห็นต่อปัญหาหรืออุปสรรคด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้องค์การปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงน้อยทีสุด (2) ปัจจัยด้านสถานประกอบการโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับสภาวะการใช้การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นปัจจัยด้านระดับการศึกษาของผู้บริหาร และระยะเวลาการดำเนินธุรกิจเท่านั้นที่ไม่มีความสัมพันธ์กันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2008.185-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการผลิตแบบลีนth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรม--ไทยth_TH
dc.titleการใช้การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนในอุตสาหกรรมไทย : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลth_TH
dc.title.alternativeThe usage of lean supply chain management in Thai industry : a case study of electrical, electronics products and automotive products manufactory in Bangkok Metropolis and its vicinityth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2008.185-
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study the opinion level of the usage of lean tools or methods, the benefits and the problems by using lean supply chain management for Thai industrial in the electrical, electronics products and automotive products and (2) to study the relationship between enterprise factors and the usage of lean supply chain management for Thai industrial, electronics products and automotive products. The population consisted of management of 1,168 enterprises in Electric, Electronics Products and Automotive Products in Bangkok Metropolis and Its vicinity and the samples consisted of management of 298 enterprises from stratified random sampling method. The instruments used were questionnaires. The statistics used in analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and Chi- Square test. The research findings were (1) the opinion levels of management toward the usage of lean tools or methods in lean supply chain management for industrial in the electrical, electronics products and automotive products was at the medium level, by which the most opinion level of usage of ISO was the most, the second was 5S and the fewest was the information technologies as GPS and RFID. While the opinion levels of the benefits and the problems by using lean supply chain management were at the high level. By considering about the benefits of lean supply chain management were found that the opinion level of reducing the work process was the most, the second was to reduce operation steps time and the fewest was the rusty product due to no continuous improvement. The problems from using lean supply chain management were that the opinion level of lack of management commitment was the most, the second was the high additional cost of some lean tools or method at the first step then the enterprises were not attention fully used and the fewest was the rapidly change of information technologies which the enterprise could not adapt to than ; and (2) the correlation of overall enterprise factors related to the usage of lean supply chain management were related with the statistically significance level of .05 except for the factor in management education level and the period of enterprise operationsen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
112130.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons