Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6547
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorฐิติพันธ์ รักใคร่, 2514--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-20T06:51:22Z-
dc.date.available2023-06-20T06:51:22Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6547-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา (1) ปัญหาการบริหารจัดการด้านการประสานงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการประสานงานของกรมควบคุมโรค และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการประสานงานของกรมควบคุมโรคประสบผลสำเร็จ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งการหาค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.95 กลุ่มตัวอย่างเน้นเฉพาะ 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ (1) บุคลากรที่สังกัดสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ(2) บุคลากรที่สังกัดสำนักงานป้องกันควบคุมโรค รวมทั้งสิ้น 1,089 คน การเก็บรวบรวมแบบสอบถามกลับคืนมาได้ 907 ชุด คิดเป็นร้อยละ 83.29 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า (1) ปัญหาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ กรมควบคุมโรคขาดการกำหนดและมอบหมายอำนาจหน้าที่ด้านการประสานงานให้ผู้บริหารให้ชัดเจน (2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ กรมควบคุมโรคควรกำหนดและมอบหมายอำนาจหน้าที่ด้านการประสานงานของผู้บริหารให้ชัดเจน รวมทั้งควรแบ่งอำนาจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพิ่มมากขึ้น และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการประสานงานของกรมควบคุมโรคควรประสบผลสำเร็จที่สำคัญ คือ กรมควบคุมโรคควรการกำหนดมาตรการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณด้านการประสานงานของผู้บริหารอย่างรัดกุมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค -- การบริหารth_TH
dc.subjectการประสานงานth_TH
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการประสานงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeIncrease of management administration efficiencies with regard to coordination of the Disease Control Department, Ministry of Public healthth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study are to study (1) problems of management administration with regard to coordination of the Disease Control Department, Ministry of Public Health, (2) the increase of management administration efficiencies guidelines with regard to coordination of the Disease Control Department, and (3) major factors that were parts of the success of the increase of management administration efficiencies guidelines with regard to coordination of the Disease Control Department. This study was a survey research by using questionnaires. The questionnaires were pre-tested, including validity and reliability checked at 0.95 level. The 2 relative offices of 1,089 sample groups divided into (1) the Bureau of AIDS, Tuberculosis and Infectious Diseases, Sexually officers and (2) the Office of Disease Prevention officers. The amount of 907, equal to 88.50% of total samples. Statistics used for data analysis were percentage, arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The in-dept interview of experts was also applied. The study results showed that the samples agreed that (1) the major management administration problem was the Disease Control Department’s lack of establishment and assignment of authorities in terms of coordinating to the executives; (2) the major increase of management administration efficiencies guidelines were the Disease Control Department should clearly establish and assign authorities in terms of coordination to the executives including increasingly delegation of power to the subordinators; and (3) major factors that were parts of the success of the increase of management administration efficiencies guidelines with regard to coordination of the Disease Control Department were the Disease Control Department should set criteria of following and checking on budget in terms of coordinationen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122003.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons