Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6550
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิรัตน์ ดิสสระ, 2500--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-20T07:09:51Z-
dc.date.available2023-06-20T07:09:51Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6550-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ (2) ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทานจำแนกตามฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาต่างๆ และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทานของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มหรือคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ และสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 6,265 ราย โดยสุ่มแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง 380 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด (2) วิเคราะห์ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทานใช้ การทดสอบค่าที (3) วิเคราะห์ความแตกต่างใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และหาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (2) ประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างเกี่ยวกับประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทานในภาพรวม พบว่า ประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทานระหว่างฝ่ายส่งน้ำและบารุงรักษาที่ 1 – 4 แตกต่างกัน โดยผู้ใช้น้ำฝ่ายส่งน้ำที่ 1 มีประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำมากที่สุด (4) ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ พบว่า สมาชิกในกลุ่มผู้ใช้น้ำยังขาดความสามัคคีเป็นบางส่วน คลองส่งน้ำบางแห่งระดับคอนกรีตดาดคลองจะต่ำ การส่งน้ำชลประทานในฤดูแล้งปริมาณน้ำน้อยได้รับน้ำไม่เพียงพอ สำหรับข้อเสนอแนะ พบว่า กลุ่มผู้ใช้น้ำต้องการให้แก้ไขโดยกำหนดรอบเวรการส่งน้ำเพิ่มขึ้น และต้องการให้สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้การส่งน้ำในคูบางคูส่งน้ำไม่มีปัญหาเรื่องเกษตรกรทะเลาะกัน ทำให้ประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทานสูงขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2010.74en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.subjectการจัดการน้ำth_TH
dc.subjectชลประทาน -- ไทย -- อุบลราชธานีth_TH
dc.titleประสิทธิผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทาน : กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativePerformance effectiveness of water user group in irrigation water management : a case study of the Dom Noi Operation and Maintenance Project in Ubon Ratchathani Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were : to (1) study factors influencing that effect to the water users group ; (2) determine the effectiveness of the water users group ; (3) Compare the different effectiveness of the water users group for irrigation water management in the Operation and Maintenance offices; and (4) study problems and suggestion for increasing the performance of the water users group to be used for water management in the irrigation project The population in this study was 6,265 people comprising of the leaders of the water users group and the irrigation water users members. The 380 cases were selected samples by using stratified random sampling methodology. The questionnaires were used as an instruments. The statistics used in analyzing the data were: (1) The frequency value, percentage, mean, minimum and maximum value and standard deviation. (2) Analysis the effectiveness level of the water users group was administrationed by using One- sample t-test. (3) Analysis of the difference was carried out by One - way Variation Analysis method and pair finding the difference by using the Scheffe method. It was found from the study that : (1) The factors that influence the performance of the overall water users group are at a “medium” level.(2) The performance of the water users group that were moderately successful (a success rate of 65%) (3) The comparative study between the different view management offices (1 to 4) reveals that the office # 1 is the most effective.(4) As far as problem concerning the water users, we found that a substantial number of user lack necessary skills or willingness to co-operate amongst themselves to take advantage of the irrigation service. Also found that some irrigation canals are designed a lower concrete bank slope, and cannot provide sufficient water during the dry season. Many water users are advising to increase their water allowance because current water supply cannot meet their needs. Also we recommend to the users to increase their co-operation in sharing the water and avoid any conflict there. So there is a clear need for the user to increase their co-operation in water sharing. And also to increase the performance in the irrigation water managementen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122004.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons