Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6552
Title: ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอแว้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
Other Titles: Academic leadership of school administrators in Waeng District under Narathiwat Promary Education Service Area 2
Authors: เข็มทอง ศิริแสงเลิศ
จิรมล สิทธิศักดิ์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--นราธิวาส
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอแว้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 (2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอแว้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน (3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ในอำเภอแว้ง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 193 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของ ผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอแว้ง ตามการรับรู้ของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกำหนดพันธกิจของโรงเรียนให้ชัดเจน ด้านการ ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ทางบวกของโรงเรียน และด้านบริหารหลักสูตร และการสอน ตามลำดับ (2) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน โดยผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ มีภาวะผู้นำทางวิชาการแตกต่างจากผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง มีภาวะผู้นำทางวิชาการไม่แตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารควรกำกับการดำเนินงานตามเป้าหมายด้วยตนเองควร มอบหมายงานอย่างชัดเจนไม่สั่งการซ้ำซ้อน ควรนิเทศติดตามการสอนของครูในชั้นเรียนเพิ่มขึ้น และควรมี ปฏิสัมพันธ์อันดีกับครูและนักเรียนทั้งในและนอกเวลาราชการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6552
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_144774.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons