Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6573
Title: | การนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่่การศึกษาสมุทรสาคร |
Other Titles: | Emplementation of education reform policy : a case study of Samutsakhon Educational Service Area Office |
Authors: | เสน่ห์ จุ้ยโต วราภา ทองพาศน์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุรพร เสี้ยนสลาย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร การปฏิรูปการศึกษา การนำนโยบายไปปฏิบัติ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องการนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จการนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 340 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า หาความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานตามวิธีการหาค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสำเร็จในการนานโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาครโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายยุทธศาสตร์พบว่ามีความสำเร็จอยู่ในระดับมากทุกยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์ที่มีความสำเร็จมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษายุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพนักเรียน และยุทธศาสตร์ที่ 5 การมีส่วนร่วมของสังคมในการจัด การศึกษา (2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนานโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร เป็นไปในทางบวกทุกด้าน โดยปัจจัยความสำเร็จที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ปัจจัยด้านการทางานเป็นทีมมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง ปัจจัยด้านภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมมี ความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านการจูงใจมีความสัมพันธ์ ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านความผูกพันและการยอมรับมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร จึงไม่ควรละเลยปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไป ควรจะส่งเสริมและพัฒนาในทุก ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6573 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
122009.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License