Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/657
Title: แนวทางการพัฒนาพรรคการเมืองไทยไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน : ศึกษากรณีพรรคประชาธิปัตย์เปรียบเทียบพรรคชาติไทย
Other Titles: Guidelines of developing of Thai political parties towaed people's political institutions : a case study of the Democrat Party Compared to the Chart Thai Party
Authors: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธโสธร ตู้ทองคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สำราญ ทองแพง, 2491-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พรรคชาติไทย
พรรคประชาธิปัตย์
พรรคการเมือง -- ไทย
สถาบันการเมือง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะของพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน (2) ศึกษาพัฒนาการทางการเมืองของพรรคประชาธิบัตย์และพรรคชาติไทยที่จะนำไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน และ (3) แนวทางในการพัฒนาพรรคการเมืองไทยให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นสอดคล้องกับแนวคิดของแซมมวล พี สันติงตัน ว่าพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันทางการเมืองมีคุณลักษณะสำคัญสี่ประการ คือ มีความสามารถในการปรับตัว มีความสลับซับซ้อนมาก มีความเป็นอิสระจากอิทธิพลใดๆ และมีความกลมเกลียวเป็นปึกแผ่นอยู่มาก และยังสอดคล้องกับแนวคิดของ โจเซฟ ลาพาลอมบารา และ ไมรอน ไวเนอร์ ที่ว่าทฤษฎีสถาบัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า กำเนิดของพรรคการเมืองนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวในรูปของสโมสรและกลุ่ม ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง พรรคการเมืองที่เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนต้อง มีคุณลักษณะสำคัญเพิ่มเติมคือ การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปลี่ยนแปลงวัฒนจรรมทางการเมือง (2) กรณีพรรคประชาธิปัตย์ได้พัฒนาพรรคไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมือง แต่ก็ยังไม่บรรลุความเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน เนื่องจากยังขาดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มากเพียงพอและต่อเนื่อง กรณีพรรคชาติไทยในช่วงเวลาของการดำรงอยู่ยังไม่สามารถพัฒนาพรรคไปสู่ การเป็นสถาบันทางการเมือง โดยขาดความสามารถในการปรับตัว และยังขาดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาขนที่มากเพียงพอและต่อเนื่อง (3) สำหรับแนวทางการปฎิบ้ติเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนนั้น จะต้องพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3 ส่วนไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ ระบบการเมือง นักการเมือง และประชาชน
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/657
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118368.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons