กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6581
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สังกัดศูนย์บริการลูกค้า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Saving behavior and factors affecting the saving of the employees of the Siam Commercial Bank Public Company Limited Call Center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขุมาลย์ ชำนิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรรณภา วิไลศรีอัมพร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการออมของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สังกัดศูนย์บริการลูกค้า (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สังกัดศูนย์บริการลูกค้า (3) ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเงินออมกับปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สังกัดศูนย์บริการลูกค้าประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สังกัดศูนย์บริการลูกค้า จำนวน 300 กน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการออมของพนักงานส่วนใหญ่มีจำนวนเงินออมร้อยละ 10-20 ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีวัตถุประสงค์การออมเพื่อไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินโดยฝากเงินกับธนาคาร เพราะสะดวกในการนำเงินออกมาใช้และออมมานาน 1 -5 ปี (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมของพนักงานคือทัศนคติในการออมของบุคคล ปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนและอัตราดอกเบี้ย ความสะดวกในการออม การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับการออม ความมั่นคงของสถาบันการเงินและภาวะเงินเฟ้อ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลให้การออมเพิ่มขึ้น คือ รายได้เพิ่มขึ้นและปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลให้การออมลดลง คือ ค่าใช้ง่ายเพิ่มขึ้นสาเหตุที่ไม่ออมเพราะรายได้น้อยไม่มีเงินเหลือในการออม (3) ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน เงินออมกับปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าอายุที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินออม ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินออม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนและจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่รับภาระค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินออม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6581
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_119873.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons