กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6604
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of health services among people living with HIV/AIDS in government hospitals in Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
เสฏฐวุฒิ แก้ววิเศษ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย,
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี--การดูแล
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี--ไทย--พะเยา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วย เอดส์ของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา (2) เปรียบเทียบระดับประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ ผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลของรัฐแต่ละแห่งในจังหวัดพะเยา (3) เปรียบเทียบประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยาตามสิทธิประโยชน์การรับบริการ (4) ศึกษาปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา และ (5) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ ผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับบริการจาก โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา 7 แห่ง จำนวน 390 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ใช้เทคนิคการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาพรวมประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ของ โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา อยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ 80 (2) ประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ ผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา มีความแตกต่างกันในบางโรงพยาบาล ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ (2.1) กลุ่มที่มีประสิทธิผลการให้บริการสูง ได้แก่ โรงพยาบาลแม่ใจ โรงพยาบาลดอกคำใต้ และโรงพยาบาลปง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันกับ (2.2) กลุ่มที่มีประสิทธิผลการให้บริการต่ำกว่ากลุ่มแรก ได้แก่ โรงพยาบาลพะเยา โรงพยาบาลจุน โรงพยาบาลเชียงคำ และโรงพยาบาลเชียงม่วน แต่ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลการให้บริการไม่มีความ แตกต่างกันหากเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลภายในกลุ่ม (3) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลของ รัฐในจังหวัดพะเยา ที่ใช้สิทธิประโยชน์ในการบริการที่ต่างกันประเมินประสิทธิผลการให้บริการของโรงพยาบาลไม่ แตกต่างกัน (4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดพะเยา ได้แก่ ปัจจัยกระบวนการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยมาตรฐานการบริการด้านเอดส์ และปัจจัย สมรรถนะระบบบริการสุขภาพ (5) จุดแข็งการให้บริการพบว่าโรงพยาบาลของรัฐสามารถให้บริการอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน มีการทำงานเป็นทีม ในขณะที่จุดอ่อนการให้บริการพบว่า บุคลากรและเครื่องมือการให้บริการมีไม่ เพียงพอ สถานที่ให้บริการคับแคบ ทำให้การให้บริการล่าช้า ประกอบกับผู้รับบริการด้านเอดส์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ข้อเสนอแนะได้แก่ (1) พัฒนางานบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ทำอยู่ประจำให้เป็นผลงาน ทางวิชาการสำหรับกลุ่มโรงพยาบาลที่มีประสิทธิผลการให้บริการที่สูง (2) ใช้การจัดการเชิงกลยุทธ์และการเทียบเคียง ผลงานการให้บริการกับโรงพยาบาลที่มีบริการที่เป็นเลิศควบคู่กับการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และ (3) เพิ่ม ทรัพยากรนำเข้าเพื่อให้บริการที่เพิ่มขึ้น เช่น แพทย์ พยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์ อาคารสถานที่ พร้อมทั้งปรับปรุง พฤติกรรมและขยายช่องทางการให้บริการ เพื่อการให้บริการด้านเอชไอวี/เอดส์ที่เป็นเลิศถ้วนทั่วทั้งจังหวัด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6604
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124419.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons