Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6623
Title: | คุณภาพการบริการที่มีต่อพฤติกรรมการรับบริการแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารของพนักงานออฟฟิศ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Service quality to the service usage behavior of food delivery application of office worker in Sathorn District in Bangkok Metropolis |
Authors: | เสาวภา มีถาวรกุล นัธจกร เอกพันธ์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | บริการลูกค้า พฤติกรรมผู้บริโภค โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การศึกษาอิสระ--การจัดการธุรกิจและการบริการ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการของแอพพลิเคชันสั่งอาหาร(2) ศึกษาพฤติกรรมการรับบริการแอพพลิเคชันสั่งอาหาร (3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการรับบริการแอพพลิเคชันสั่งอาหาร และ (4) เปรียบเทียบคุณภาพการบริการกับพฤติกรรมการรับบริการแอพพลิเคชันสั่งอาหาร ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณภาพการบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการคือ ระบบการจัดการแอพพลิเคชันใช้งานง่ายด้านการตอบสนองลูกค้า แอพพลิเคชันสามารถแสดงผล/ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า ได้กำหนดเงื่อนไขในการชำระเงินมีความเหมาะสม ด้านความน่าเชื่อถือ เจ้าหน้าที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า เจ้าหน้าที่ให้บริการลูกค้าด้วยความเป็นกันเอง ตามลำดับ (2) พฤติกรรมการใช้บริการของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบใช้บริการแก๊ปฟู้ดส์ มีความถี่ในการใช้บริการ 3 - 4 ครั้ง/สัปดาห์ในช่วงเวลา 11.00-12.00 น. โดยมีปริมาณการสั่งอาหาร 2 รายการต่อครั้ง เฉลี่ยครั้งละ 100 - 200 บาท ประเภทอาหารจานหลัก การโฆษณาทางออนไลน์ และสื่อสังคม เป็นช่องทางการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการ คือ ตนเอง และสาเหตุที่ใช้บริการ เนื่องจากมีเวลาไม่เพียงพอในการเดินทางไปรับประทานอาหาร (3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งงาน มีผลกับพฤติกรรมด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลกับพฤติกรรมการรับบริการมากที่สุด คือ ประเภทอาหารที่เลือกบริการ ปริมาณการสั่งอาหาร และค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการใช้บริการ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษาไม่มีผลกับพฤติกรรมการรับบริการของกลุ่มตัวอย่าง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ (4) คุณภาพการบริการทั้ง 5 ด้าน ไม่มีผลกับพฤติกรรมการรับบริการของกลุ่มตัวอย่าง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6623 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
166638.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License