Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6624
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจุไรพร จะตุระพันธ์, 2527-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-06-21T07:09:17Z-
dc.date.available2023-06-21T07:09:17Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6624en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับครูผู้สอนในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์จำแนกตามวิทยฐานะของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 151 โรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 151 คน ได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอน 306 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน รวมจำนวนทั้งหมด 457 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) สภาพความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยง ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ มีความเสี่ยงในระดับปานกลางทุกด้าน โดยกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คือ กำหนดวัตถุประสงค์ของความเสี่ยง การจัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง และการรายงานและติดตามผล (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับครูผู้สอน โดยภาพรวมไม่พบความแตกต่าง และ (3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์จำแนกตามวิทยฐานะของบุคลากร พบว่าโดยภาพรวม พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีทางการศึกษา -- การศึกษาการใช้th_TH
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศ. | การบริหารความเสี่ยงth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์th_TH
dc.title.alternativeRisk management process in the use of information technology based on policy of the Ministry of Education in primary schools under Nakhon Sawan Provincial Education Officeth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study opinions toward the risk management process in the use of information technology based on policy of the Ministry of Education in primary schools under Nakhon Sawan Provincial Education Office; (2) to compare opinions of school administrators with opinions of teachers toward the risk management process in the use of information technology based on policy of the Ministry of Education in primary schools under Nakhon Sawan Provincial Education Office; and (3) to compare opinions of school personnel with different educational qualifications toward the risk management process in the use of information technology based on policy of the Ministry of Education in primary schools under Nakhon Sawan Provincial Education Office. The research sample consisted of 151 basic education schools in Nakhon Sawan province. The research informants totaling 457 school personnel consisted of 151 purposively selected school administrators and 306 randomly selected teachers the number of which was determined based on Krejcie and Morgan’s Sample Size Table. The employed research instrument was a questionnaire. Statistics employed for data analysis were the percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA. Research findings were as follows: (1) regarding opinions toward the risk management process in the use of information technology based on policy of the Ministry of Education in primary schools under Nakhon Sawan Provincial Education Office, it was found that the risks were perceived to be at the moderate level in all aspects of the process; the risk management process based on policy of the Ministry of Education comprised the determination of the risk objectives, the management and creation of risk management plans, the risk evaluation, the risk identification, and the risk reporting and follow-up; (2) no significant difference was found regarding comparison results of school administrators’ and teachers’ opinions toward the risk management process in the use of information technology based on policy of the Ministry of Education; and (3) significant difference at the .05 level was found regarding comparison results of overall opinions of school personnel with different educational qualifications toward the risk management process in the use of information technology based on policy of the Ministry of Education in primary schools under Nakhon Sawan Provincial Education Officeen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159559.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons