Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6632
Title: พฤติกรรมการฝากเงินแบบสลากออมสินพิเศษของลูกค้าในจังหวัดลำปาง
Other Titles: The customer's behavior on depositting in the government saving bank's Lottery in Lampang Province
Authors: วิเชียร เลิศโภคานนท์, อาจารยืที่ปรึกษา
ภัทรนฤน ช่วยจันทร์ดี, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารออมสิน
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการเงินฝากสลากออมสินพิเศษในจังหวัดลำปาง(2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเงินฝากสลากออมสินพิเศษในจังหวัดลำปาง (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาคต่อการฝากเงินแบบสลากออมสินพิเศษของผู้ใช้บริการในจังหวัดลำปาง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ทำการศึกษา คือ ผู้ใช้บริการเงินฝากแบบสลากออมสินพิเศษของธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง ทำการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรYamane ได้จำนวน 400 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ ค่าความถี่คะแนนเฉลี่ย และค่าร้อยละ และนำเสนอในรูปแบบของตารางผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ใช้บริการด้านเงินฝากแบบสลากออมสินพิเศษในจังหวัดลำปางส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุช่วง 31-40 ปี สถานภาพ สมรส การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามากที่สุด ประกอบอาชีพเจ้าของกิจการ/ค้าขาย ระดับรายได้ระหว่าง 20,001-25,000 บาท (2) ด้านพฤติกรรมการฝากเงินด้วยสลากออมสินพิเศษ พบว่า จำนวนครั้งในการฝากเงินต่อเดือนส่วนใหญ่มีการฝาก เดือนละครั้ง จำนวนเงินฝากต่อครั้ง ต่ำกว่า 5,000.- บาท การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จะมาจากสื่อโทรทัศน์วิทยุ เหตุผลในการตัดสินใจฝากเงินคือต้องการเงินรางวัล (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเงินฝากประเภทสลากออมสินพิเศษ พบว่า ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาคทุกด้านในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์ คือการที่สามารถนำสลากมาค้ำประกันการ กู้เงินได้ ด้านราคาคือการที่เงินฝากแบบสลากสามารถได้รับคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยเมื่อฝากกรบอายุ ด้านการจัดจำหน่ายคือการที่สามารถรับเงินรางวัลโดยการโอนเงินเข้าบัญชีได้ ด้านการส่งเสริมการตลาดคือการที่พนักงานออกไปประชาสัมพันธ์ ด้านบุคลากรคือพนักงานมีความน่าเชื่อถือ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพคือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของธนาคาร และด้านกระบวนการให้บริการคือการฝากเงินแบบสลากออมสินมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6632
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125699.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons