Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6645
Title: วัฒนธรรมองค์การของเรือนจำและทัณฑสถานเขต 3 กรมราชทัณฑ์
Other Titles: Organizational culture of Prisons and Penitentiariesin the Third Region under the Department of Corrections
Authors: ชินรัตน์ สมสืบ
เสน่ห์ เพียรขุนทด, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
กรมราชทัณฑ์
วัฒนธรรมองค์การ
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบวัฒนธรรมองค์การของเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 3 กรมราชทัณฑ์ (2) เปรียบเทียบรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 3 กรมราชทัณฑ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การของเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 3 กรมราชทัณฑ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เรือนจำและทัณฑสถาน เขต 3 กรมราชทัณฑ์ จำนวน 1,047 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 324 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) เรือนจำและทัณฑสถานเขต 3 กรมราชทัณฑ์มีรูปแบบวัฒนธรรมองค์การ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบตั้งรับ-เฉื่อยชา อยู่ในระดับมาก รูปแบบสร้างสรรค์ และรูปแบบตั้งรับ-ก้าวร้าว อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน และระดับตำแหน่ง ต่างกันมีรูปแบบวัฒนธรรมองค์การที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ต่างกันมีรูปแบบวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) แนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การของเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 3 กรมราชทัณฑ์ มี 3 ประการ ได้แก่ ควรมีการทำงานเป็นทีม ควรมีความสามัคคีในหมู่คณะ และควรปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับและระเบียบอย่างเคร่งครัด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6645
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125048.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons