Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6699
Title: | ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารระบบการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 6 |
Other Titles: | Success factor in prisoner control system management in Prisons and Institution in Area 6 |
Authors: | วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ มณฑล ขันกสิกรรม, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุนิสา จุ้ยม่วงศรี |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ ผู้ต้องหา เรือนจำ การบริหารงานราชทัณฑ์ ทัณฑสถาน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อปัจจัยความสำเร็จในการบริหารระบบการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 6 (2) วิเคราะห์ปัจจัยร่วมที่อธิบายความสำเร็จในการบริหารระบบการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 6 (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารระบบการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำและ ทัณฑสถาน เขต 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการ จำนวน 151 คน ที่ปฏิบัติงานฝ่ายควบคุมผู้ต้องขังจากเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 6 ที่มีความสำเร็จในการบริหารระบบการควบคุมผู้ต้องขัง จำนวน 13 แห่ง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ปัจจัย ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดเห็นของบุคลากรต่อปัจจัยความสำเร็จในการบริหารระบบการ ควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 6 อยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านระบบการควบคุมผู้ต้องขัง รองลงมาคือ ด้านผู้นำ ด้านบุคลากร และด้านการบริหาร ตามลำดับ (2) ปัจจัยร่วมที่อธิบายความสำเร็จในการบริหารระบบการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 6 ที่สำคัญที่สุดคือ 1) ปัจจัยด้านบุคลากร รองลงมาคือ 2) ปัจจัยด้านระบบการควบคุมผู้ต้องขัง 3) ปัจจัยผู้นำ และ 4) ปัจจัยการบริหาร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 62.300 (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการ พัฒนาการบริหารระบบการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำและ ทัณฑสถาน เขต 6 ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นคือ ควรเน้นการรักษาระเบียบวินัยสำหรับผู้ต้องขัง รองลงมาคือ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้าง จิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่ให้มีคุณธรรม จริยธรรม รักเกียรติและศักด์ิศรีการเป็ นข้าราชการและลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิดอย่างจริงจัง มุ่งเน้นการปล่อยตัวก่อนครบกำหนดโทษ (ปล่อยตัวคุมประพฤติ)และกรมราชทัณฑ์ควรจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้ตรงตามกรอบการบริหารงานเรือนจำ ตามลำดับ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6699 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128399.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License