Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/669
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านบริหารกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 13 |
Other Titles: | Relationships between personal factors, administrative factors, and quality of work life of professional nurses in general hospitals, Public Health Inspection Region 13 |
Authors: | นิตยา เพ็ญศิรินภา คำพันธ์ ก้อนคำ, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาล--การบริหาร คุณภาพชีวิตการทำงาน |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยด้านบริหารและระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านบริหารกับคุณภาพชีวิตการทำงาน และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยด้านบริหารและคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป เขตตรวจราชการสาขารณสุขที่ 13 ประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ในโรงพยาบาลทั่วไปเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 13 จำนวน 891คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 276 คน ได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยการทดสอบค่าไค-สแควร์ และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านบริหาร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านกลยุทธ์อยู่ในระดับสูง ส่วนอีก 6 ด้านที่เหลืออยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมอยู่ในระดับสูง ส่วนอีก 7 ด้านที่เหลืออยู่ในระดับปานกลาง (2) ประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลทั่วไปมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตการทำงาน ปัจจัยด้านบริหารโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตการทำงาน ส่วนปัจจัยด้านบริหารรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ (3) ปัญหาที่ พบมากที่สุด คือ การขาดแคลนพยาบาลและการให้ค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสมกับภาระงานที่รับผิดชอบ ข้อเสนอแนะของพยาบาลวิชาชีพ คือ ควรเพิ่มจำนวนพยาบาลหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของพยาบาลวิชาชีพ โดยการเพิ่มสวัสดิการและค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับภาระงานที่รับผิดชอบ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/669 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
122027.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License