Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6719
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorทิปภวัล รัตนรัตน์, 2516--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-26T04:16:54Z-
dc.date.available2023-06-26T04:16:54Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6719-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำของหัวหน้างานในองค์การบริหารส่วนตำบล ของจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของหัวหน้างานในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัด นครศรีธรรมราช ตามระดับการศึกษา (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของหัวหน้างานในองค์การบริหารส่วน ตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่ความเหมาะสมสำหรับ หัวหน้างานในองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไปที่ไม่ใช่หัวหน้างานและปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนทั้งสิ้น 154 แห่ง จำนวน 4,797 ราย โดยสุ่มแบบชั้นภูมิได้ กลุ่มตัวอย่าง 370 รายจากองค์การบริหารส่วนตำบล 110 แห่งเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ (2) วิเคราะห์ ระดับความเป็นผู้นำของหัวหน้างานใช้ การทดสอบค่าที (3) วิเคราะห์ความแตกต่างใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และหาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ และ (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีถดถอย เชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำแบบบงการ อยู่ในระดับปานกลาง ภาวะผู้นำแบบให้การสนับสนุน ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ อยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความแตกต่าง ภาวะผู้นำของหัวหน้างานตามระดับการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำแบบบงการ ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนภาวะผู้นำ แบบให้การสนับสนุน ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำแบบที่มุ่งความสำเร็จ มีความแตกต่างกัน โดยผู้นำ ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีภาวะผู้นำมากที่สุด (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำ พบว่า ไม่มีปัจจัยใดที่มี อิทธิพลต่อภาวะผู้นำแบบบงการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำแบบให้การสนับสนุน ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านสมรรถนะ และปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และปัจจัยด้านสมรรถนะ ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อภาวะผู้นำแบบที่มุ่งความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (4) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำของหัวหน้างานให้เพิ่มสูงขึ้น พนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ เสนอแนะหัวหน้างานควรต้องทำความรู้จักกับพนักงานแต่ละคนให้มากที่สุดเพื่อนำคุณสมบัติของแต่ละคนมา เป็นข้อมูลประกอบในการบริหารงาน ควรมีการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ควรจบการศึกษาด้านการบริหารงาน โดยตรงและควรมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับทักษะความเป็นผู้นำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2011.122en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษาth_TH
dc.titleภาวะผู้นำของหัวหน้างานในองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีจังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeLeadership of department heads at sub-district administrative organization : a case study of Nakhon Si Thammarat Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) study the leadership of department heads at Sub-district Administrative Organizations in Nakhon Si Thammarat province, 2) compare the leadership of department heads based on educational levels 3) study the factors influencing the leadership of these department heads, and 4) suggest the guidelines for developing the appropriate leadership for these department heads. Population in this research consisted of 4,797 employees who were not department heads from 154 Sub-district Administrative Organizations in Nakhon Si Thammarat province including sub-district officers, permanent employees, contracted employees and general workers. Method of stratified sampling was applied so consequently samples comprised 370 persons from 110 Sub-district Administrative Organizations. Instrument for this research was questionnaire. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, ranking, t-test, Oneway ANOVA with the application of Scheffé's method for multiple comparison, and Stepwise Multiple Regression. It was found from the study that: (1) directive leadership was at moderate level, supportive leadership, participative leadership and achievement-oriented leadership were at high level, (2) when compared the leadership based on educational level, there was no difference on directive leadership, while differences were found on supportive, participative and achievement-oriented leadership, of which Bachelor’s degree holders had highest level of leadership, (3) there was no factor influencing directive leadership, while motivation, competency and good governance were the factors influencing the supportive and participative leadership, achievement-oriented leadership was influenced by factors of motivation and good governance, (4) guidelines proposed by the officers at Sub-district Administrative Organizations to enhance department heads’ leadership were: the department heads should make themselves acquainted with their subordinates as much as they could so consequently they could delegate right man to the right job, they should have at least Bachelor’s degrees majoring in administration or management and, they should be trained in leadership skill so to enhance the effectiveness of their worken_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129218.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons