กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6719
ชื่อเรื่อง: ภาวะผู้นำของหัวหน้างานในองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Leadership of department heads at sub-district administrative organization : a case study of Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิปภวัล รัตนรัตน์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำของหัวหน้างานในองค์การบริหารส่วนตำบล ของจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของหัวหน้างานในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัด นครศรีธรรมราช ตามระดับการศึกษา (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของหัวหน้างานในองค์การบริหารส่วน ตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่ความเหมาะสมสำหรับ หัวหน้างานในองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไปที่ไม่ใช่หัวหน้างานและปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนทั้งสิ้น 154 แห่ง จำนวน 4,797 ราย โดยสุ่มแบบชั้นภูมิได้ กลุ่มตัวอย่าง 370 รายจากองค์การบริหารส่วนตำบล 110 แห่งเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ (2) วิเคราะห์ ระดับความเป็นผู้นำของหัวหน้างานใช้ การทดสอบค่าที (3) วิเคราะห์ความแตกต่างใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และหาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ และ (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีถดถอย เชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำแบบบงการ อยู่ในระดับปานกลาง ภาวะผู้นำแบบให้การสนับสนุน ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ อยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความแตกต่าง ภาวะผู้นำของหัวหน้างานตามระดับการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำแบบบงการ ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนภาวะผู้นำ แบบให้การสนับสนุน ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำแบบที่มุ่งความสำเร็จ มีความแตกต่างกัน โดยผู้นำ ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีภาวะผู้นำมากที่สุด (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำ พบว่า ไม่มีปัจจัยใดที่มี อิทธิพลต่อภาวะผู้นำแบบบงการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำแบบให้การสนับสนุน ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านสมรรถนะ และปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และปัจจัยด้านสมรรถนะ ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อภาวะผู้นำแบบที่มุ่งความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (4) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำของหัวหน้างานให้เพิ่มสูงขึ้น พนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ เสนอแนะหัวหน้างานควรต้องทำความรู้จักกับพนักงานแต่ละคนให้มากที่สุดเพื่อนำคุณสมบัติของแต่ละคนมา เป็นข้อมูลประกอบในการบริหารงาน ควรมีการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ควรจบการศึกษาด้านการบริหารงาน โดยตรงและควรมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับทักษะความเป็นผู้นำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6719
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
129218.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons