Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6762
Title: ความสัมพันธ์ของความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอฉวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
Other Titles: The relationship between the being professional learning community and motivation in work performance of teachers in Chawang District under Nakhon Si Thammarat Primary Education Service Area Office 2
Authors: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณิชกานต์ รัตนบุรี, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ครูกับชุมชน
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในอาเภอฉวาง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในอาเภอฉวาง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จานวน 110 คน กาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางสาเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ใช้วัดความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ .95 ตามลาดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในอาเภอฉวางโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) ความสัมพันธ์ของความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6762
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_162036.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons