Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6765
Title: ปัญหาการบังคับใช้การไกล่เกลี่ยคดีอาญาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
Other Titles: Problems enforcing mediation with a criminal offense of public administration act 2534 / Problems enforcing mediation with a criminal offense of public administration act 2534
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชิดชาย สิงห์พรหม, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี.
การไกล่เกลี่ย
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้ของการไกล่เกลี่ยคดีอาญาและพิจารณาหาหลักเกณฑ์และวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้การบังคับใช้ตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดย การวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) ข้อมูลแบบเอกสารจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเดิม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 กฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ.2553 บทความ วิทยานิพนธ์ รวมถึงข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาเรียบเรียง ศึกษาวิเคราะห์ หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการบังคับใช้การไกล่เกลี่ยคดีอาญาตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประการแรกเขตอำนาจในการไกล่เกลี่ย ปัจจุบันกำหนดให้เมื่อความผิดเกิดขึ้นในเขตอำเภอใดให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอในเขตอำเภอนั้นเป็น ผู้ไกล่เกลี่ยแต่ปัญหาอาจเกิดกรณีความผิดต่อเนื่องในหลายอำเภอ จะให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ในเขตอำเภอใดเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ประการที่สอง คุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ย ปัจจุบันไม่ได้กำหนดผู้ไกล่เกลี่ยต้องผ่านการอบรมการไกล่เกลี่ยหรือกำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีความเป็นกลางหรือไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องที่ตนไกล่เกลี่ย ประการที่สาม กระบวนการในการไกล่เกลี่ย ปัจจุบันการเปิดเผยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการไกล่เกลี่ยจะห้ามเฉพาะนายอำเภอและปลัดอำเภอเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติอาจมีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ผู้มาให้ข้อเท็จจริง หรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่กรอกเอกสารหรือทำหน้าที่ธุรการ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวไม่ได้ห้ามและประการสุดท้าย ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่าย ในการเดินทางของผู้ไกล่เกลี่ย ปัจจุบันไม่ได้กำหนดไว้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6765
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_134092.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons