Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6793
Title: การประเมินผลโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังเรือนจำกลาง อุบลราชธานี
Other Titles: The inmate pre-release readiness preparation program assessment of Ubon Ratchathani Central Prison
Authors: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
วโรดม ชินชัย, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
นักโทษ--การฝึกอบรม
โครงการ--การประเมิน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประเมินผลโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังของเรือนจํากลางอุบลราชธานี (2) เปรียบเทียบผลการประเมินผลโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุบลราชธานี โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) แนวทางในการปรับปรุงการดําเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังของเรือนจํากลางอุบลราชธานี การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ต้องขัง ที่จะได้รับการปล่อยตัวที่เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยจํานวน 561คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จํานวน 234 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรการคํานวณ ของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า (1) ผลการประเมินผลโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุบลราชธานี ทั้ง 4 ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านผลสัมฤทธิ์ และด้านกระบวนการ ในระดับมากตามลําดับ (2) ผู้ต้องขังที่มีเพศ อายุ ฐานความผิด และกำหนดโทษต่างกันมีการประเมินผลโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุบลราชธานี ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3)แนวทางในการปรับปรุง การดําเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังเรือนจํากลางอุบลราชธานี มี 3 ประการ ได้แก่ 1) ควรรักษามาตรฐานการดําเนินงานด้านบริบทของโครงการฯ และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับนโยบายคืนคนดีสู่สังคมของกรมราชทัณฑ์อยู่เสมอ 2) ควรให้ความรู้อย่างทั่วถึง มีการจัดกลุ่มในการให้ความรู้ เพื่อที่จะได้ทั่วถึงและเข้มข้น ปรับปรุงเรื่องระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป และ3) ควรจัดการสื่อวัสดุอุปกรณ์ให้มีปริมาณเพียงพอต่อจํานวนของผู้เข้ารับการอบรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6793
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_161985.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons