Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6813
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorรังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนัทธมน จันมณี, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-28T03:53:52Z-
dc.date.available2023-06-28T03:53:52Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6813-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง (2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง (4) ศึกษาข้อเสนอแนะของบุคลากรและแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง จำนวน 250 คน จากประชากรทั้งสิ้น 644 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง อยู่ในระดับมาก โดยประเด็นด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทให้องค์การมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านความจงรักภักดีและเสียสละต่อองค์การ และด้านความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อองค์การ (2) เมื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันของบุคลากร พบว่า ผู้ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีระดับความผูกพันไม่แตกต่างกันยกเว้นบุคลากรที่มีอัตราเงินเดือนแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะงาน ความสำเร็จของการทางาน และความก้าวหน้าในการทำงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถพยากรณ์ความผูกพันได้ร้อยละ 58.3 (4) ข้อเสนอแนะ 1) เทศบาลควรพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้กฎระเบียบหรือให้อานาจในการตัดสินใจแก่บุคลากรมากขึ้นเพื่อมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการปฏิบัติงานได้อย่างสัมฤทธิผล 2) ควรจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้บริหารองค์การ รวมทั้งการให้อิสระทางความคิดกับพนักงาน รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ในองค์การ 3) ควรจัดให้มีระบบการให้รางวัลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานดีเด่น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความภาคภูมิใจ และรู้สึกว่าได้รับการยอมรับจากองค์การ เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา 4) ควรกำหนดเกณฑ์การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีเป็นลายลักษณ์อักษร และชี้แจงเกณฑ์ดังกล่าวให้กับบุคลากรในองค์การได้ทราบ 5) ควรจัดโครงการฝึกอบรมวิธีการ หลักการ และแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนงานให้กับผู้บริหารทุกระดับ เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมการสอนงานในองค์การต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.133th_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การth_TH
dc.titleความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยองth_TH
dc.title.alternativeOrganizational commitment of Mabtapud Muang Municipality personnel, Rayong Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to (1) study organizational commitment level of Mabtapud Muang Municipality personnel, Rayong province (2) compare the organizational commitment of Mabtapud Muang Municipality personnel by personal factors (3) study factors affecting organizational commitment of Mabtapud Muang Municipality personnel, Rayong province (4) study recommendations of personnel and suggest appropriate approaches to enhance organizational commitment of Mabtapud Muang Municipality personnel, Rayong province. Samples consisted of 250 personnel of Mabtapud Muang Municipality, Rayong province, obtained from population of 644. Instrument used was questionnaire. Accidental sampling method was applied. Statistical tools employed were percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way Anlysis of Variance, correlation coefficient analysis and stepwise regression analysis. Research results revealed that (1) organizational commitment of Mabtapud Muang Municipality personnel, Rayong province was at high level; with highest mean on willingness to devote to the organization, following by loyalty and devotion to the organization, faith and confidence in the organization, respectively (2) when compared organizational commitment, no differences were found among those with different personal factors, except personnel with different income level had different organizational commitment at 0.05 level of statistical significance (3) recognition, work itself, achievement and advancement affected organizational commitment of Mabtapud Muang Municipality personnel with level of statistical significance at 0.05, all four variables could predict organizational commitment of personnel at 58.3 percent (4) suggestions included 1) the organization should consider relaxation of rules and regulations so to foster workflow and work achievement 2) activities to strengthen relationships between employees and the management should be arranged, together with the provision of autonomy and opportunities for personnel to show their opinions 3) reward systems should be developed so those with distinct performance would be proud and be assured of the recognition from the organization, peers and supervisors 4) there should be written criteria on salary increase from performance appraisal, and should make known to all personnel 5) training on coaching should be provided to all management levels, the result of which would finally lead to culture of coaching of the organization in the near futureen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130838.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons