Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6837
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด |
Other Titles: | Factors affecting to the achievement of environment management of community committee in Pak Kret Municipality |
Authors: | ดุสิต เวชกิจ ภูษิตา บุญยกรชินเดช, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสำเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการชุมชน เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการชุมชน เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ (3) เสนอแนะทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) คณะกรรมการชุมชน เทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 63 ชุมชน และ (2) กลุ่มประชากรที่พักอาศัยในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด 116,725 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการชุมชน จำนวน 219 คน จาก 54 ชุมชน โดยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ 11 ชุมชน ชุมชนขนาดกลาง 20 ชุมชน และชุมชนขนาดเล็ก 23 ชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่พักอาศัยในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการชุมชนและประชาชนมีความคิดเห็นต่อความสำเร็จทางการจัดการสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการชุมชน ในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับมาก โดยที่ระดับความสำเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการชุมชนมีความสำเร็จไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ควรสนับสนุนทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เงินทุน รวมทั้งให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ในขณะเดียวกันคณะกรรมการชุมชนควรพัฒนาตนเอง และ ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส มีการวางแผนอย่างชัดเจน สนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผล การปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุมชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6837 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
133792.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License