Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6864
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดุสิต เวชกิจ | th_TH |
dc.contributor.author | ภูษิตา วงศ์ธรรมวัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-06-28T08:14:58Z | - |
dc.date.available | 2023-06-28T08:14:58Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6864 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบ (2) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบระดับจังหวัดและระดับอำเภอ (3) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบ (4) ศึกษาบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบ และ (5) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบในอนาคตรูปแบบการวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่เป็นหน่วยการศึกษาวิจัย คือ หมู่บ้านในจังหวัดปทุมธานีประกอบด้วย หมู่บ้านในระดับจังหวัด 2 แห่งและหมู่บ้านในระดับอำเภอ 4 แห่ง มีตัวแทนประชากรทั้งหมด จำนวน 365 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ตัวแทนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .949 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ (1) การวิเคราะห์ สถิติพรรณา ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) การวิเคราะห์สถิติอนุมาน นำมาใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ ที-เทสต์ และใช้ เอฟ-เทสต์ ผ่านการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ CIPP Model ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขของจังหวัดปทุมธานีมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (2) ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข มีความแตกต่างกันระหว่าง หมู่บ้านต้นแบบระดับจังหวัด และหมู่บ้านต้นแบบระดับอำเภอ (3) ตัวแปรที่สามารถอธิบายประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข คือ หลักความมีเหตุผล หลักความพอประมาณ เงื่อนไขคุณธรรม และเงื่อนไขความรอบรู้ อธิบายรวมกันได้ร้อยละ 57.7 (4) เมื่อวิเคราะห์โดยใช้ CIPP Model พบว่าหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบระดับจังหวัดมีบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ที่ดีกว่าระดับอำเภอ (5) ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ จัดให้มีการสอนให้รู้ถึงการดำรงชีวิตอย่างมีเหตุผล นำหลักทางสายกลางของพุทธศาสนามาใช้ เน้นสร้างความซื่อสัตย์สุจริตและความเพียรให้เกิดขึ้น ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ และเพื่อให้ชีวิต เศรษฐกิจ สังคมเกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ควรใช้ชีวิตอยู่โดยใช้หลักเหตุและผล คิดพิจารณาทุกอย่างอย่างรอบคอบทั้งในระยะสั้นระยะยาว เน้นเศรษฐกิจในครัวเรือนให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และสร้างชุมชนให้เป็นสังคมที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลและเอื้ออาทรกัน มีความรัก สามัคคี | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2009.111 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--ปทุมธานี | th_TH |
dc.subject | การพัฒนาหมู่บ้าน--ไทย--ปทุมธานี | th_TH |
dc.title | ประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เป็นสุขต้นแบบจังหวัดปทุมธานี | th_TH |
dc.title.alternative | Effectiveness of development of sufficiescy economy village model in Phthum Thani Province | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2009.111 | - |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were to (1) study level of effectiveness of sufficiency economy village model (2) compare the effectiveness of development of sufficiency economy village model between provincial and district levels (3) study factors influencing the effectiveness of development of sufficiency economy model (4) study Context, Input, Process and Product of development of sufficiency economy village model and (5) propose approaches for development of sufficiency economy village model in the future. Research pattern was a survey research. Population included villages in Pathum Thani Province; 2 at the provincial level and 4 at district level. Representative of the whole population comprised 365 households. Sample group size was determined by Yamane approach with 95% confidentiality where the number of representative of sample group was 191 households. Tools used for this study were questionnaire and interview. Analysis of reliability test of the questionnaire was at .949. Quantitative analysis was categorized into 2 methods (1) descriptive statistics applying frequency distribution, percentage and standard deviation (2) inferential statistics applied for hypothesis testing by applying t-test and F-test via Multiple Regression Analysis while qualitative analysis was done by applying CIPP Model, Analytic Induction and Constant Comparison. The results revealed that (1) effectiveness of development of sufficiency economy village in Pathum Thani Province was not lower than 80% (2) the mean of effectiveness of development of sufficiency economy village was different between village models at provincial level and district level (3) variables that could explain the effectiveness of development of sufficiency economy were the principle of reasonableness, principle of modesty, virtue requirements and wisdom requirements which could totally explain at 57.7% (4) when analyzing data via CIPP Model, it showed that sufficiency economy village model at provincial level had C-Context, I-lnput, P-Process and P-Product at better level than that of district level (5) the significant suggestions included providing teaching on reasonable living, applying Buddhist Doctrine of Middle Way, emphasizing on establishment of integrity and pertinacity, applying wisdom for one’s living, promoting knowledge sharing in the application of sufficiency economy principle. In order to create balance, security and sustainability among lives, economy and society, suggestions were to live the life on reasonableness principle and to determine all things thoroughly covering short and long term consequences, to emphasize sufficient status of household economy and to create the community to be a society of help and care, love and harmony. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ | th_TH |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
114856.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License