Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6864
Title: ประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เป็นสุขต้นแบบจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Effectiveness of development of sufficiescy economy village model in Phthum Thani Province
Authors: ดุสิต เวชกิจ
ภูษิตา วงศ์ธรรมวัฒน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--ปทุมธานี
การพัฒนาหมู่บ้าน--ไทย--ปทุมธานี
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบ (2) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบระดับจังหวัดและระดับอำเภอ (3) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบ (4) ศึกษาบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบ และ (5) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบในอนาคตรูปแบบการวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่เป็นหน่วยการศึกษาวิจัย คือ หมู่บ้านในจังหวัดปทุมธานีประกอบด้วย หมู่บ้านในระดับจังหวัด 2 แห่งและหมู่บ้านในระดับอำเภอ 4 แห่ง มีตัวแทนประชากรทั้งหมด จำนวน 365 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ตัวแทนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .949 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ (1) การวิเคราะห์ สถิติพรรณา ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) การวิเคราะห์สถิติอนุมาน นำมาใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ ที-เทสต์ และใช้ เอฟ-เทสต์ ผ่านการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ CIPP Model ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขของจังหวัดปทุมธานีมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (2) ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข มีความแตกต่างกันระหว่าง หมู่บ้านต้นแบบระดับจังหวัด และหมู่บ้านต้นแบบระดับอำเภอ (3) ตัวแปรที่สามารถอธิบายประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข คือ หลักความมีเหตุผล หลักความพอประมาณ เงื่อนไขคุณธรรม และเงื่อนไขความรอบรู้ อธิบายรวมกันได้ร้อยละ 57.7 (4) เมื่อวิเคราะห์โดยใช้ CIPP Model พบว่าหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบระดับจังหวัดมีบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ที่ดีกว่าระดับอำเภอ (5) ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ จัดให้มีการสอนให้รู้ถึงการดำรงชีวิตอย่างมีเหตุผล นำหลักทางสายกลางของพุทธศาสนามาใช้ เน้นสร้างความซื่อสัตย์สุจริตและความเพียรให้เกิดขึ้น ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ และเพื่อให้ชีวิต เศรษฐกิจ สังคมเกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ควรใช้ชีวิตอยู่โดยใช้หลักเหตุและผล คิดพิจารณาทุกอย่างอย่างรอบคอบทั้งในระยะสั้นระยะยาว เน้นเศรษฐกิจในครัวเรือนให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และสร้างชุมชนให้เป็นสังคมที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลและเอื้ออาทรกัน มีความรัก สามัคคี
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6864
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
114856.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons